ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    047727 ขออนุญาตถามต่อเนื่องจาก คำถามที่ 047721 - การจัดการมรดก ครับธีรภัทร์ กาญจนนิรินธน์27 สิงหาคม 2555

    คำถาม
    ขออนุญาตถามต่อเนื่องจาก คำถามที่ 047721 - การจัดการมรดก ครับ

    จาก คำถามที่ 047721 - การจัดการมรดก ที่คุณสิทธิ์ แสงทอง ถามไว้เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2555 เนื้อความว่า

    "การจัดการมรดก
     ขอเรียนถามอาจารย์ว่า บิดามีบุตร 3 คน ต่อมาได้ถึงแก่กรรมและเขียนพินัยกรรมไว้ว่า ที่ดินสวนไม้สักทอง ให้แบ่งเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กัน และยกส่วนที่ 1 ให้หลาน(บุตรของบุตรคนที่ 1) และยกส่วนที่ 2 ให้หลาน(บุตรของบุตรคนที่ 2) สำหรับไม้สักในสวนยกให้บุตรคนที่ 3 แต่เพียงผู้เดียว และมอบให้บุตรคนที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมนี้ กระผมในฐานะผู้จัดการมรดกจะทำอย่างไร"

    ซึ่งอาจารย์ได้กรุณาตอบไว้เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2555 ว่า "ก็แบ่งมรดกไปตามที่กำหนดไว้ในพินัยกรรม"

    ผมอยากจะเรียนถามต่อว่า

    1. ในกรณีนี้หากทางเจ้าของที่ดินคนใหม่ (บุตรของบุตรคนที่ 1 และ/หรือ บุตรของบุตรคนที่ 2) ต้องการพัฒนาที่ดินไปทำอย่างอื่น จึงต้องการเอาไม้สักทั้งหมดออกจากทีดินของตน หรือมากไปกว่านั้นคืออาจตัดสินใจขายที่ดิน

    ตรงนี้บุตรคนที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของต้นสักในสวนจะมีสิทธิ์ในการตัดค้านหรือไม่ หรือว่าต้องจำยอม ถอน/ตัด/ย้าย ไม้สักออกจากที่ดินไป

    2. เจ้าของที่ดินคนใหม่มีสิทธิ์จะใจร้ายพอที่จะคิดค่าเช่าที่ดินในการปลูกไม้สักต่อไปในที่ของตนจากบุตรคนที่ 3 ของผู้ตายได้ใช่ไหมครับ

    3. หากเจ้าของที่ดินคนใหม่ประกาศขายที่ดินพร้อมไม้สัก... ตรงนี้ไม่สามารถทำได้หากไม่ได้รับการยินยอมขากบุตรคนที่ 3 ของผู้ตายใช่หรือไม่ครับ... หรือหากลักลอบขายไปโดยที่บุตรคนที่ 3 ไม่ทราบเรื่อง... ต่อมาภายหลังบุตรคนที่ 3 เกิดทราบเรื่องขึ้นมา เขาจะมีสิทธิ์ฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือไม่ ถ้ามีสิทธิ์ฟ้องร้องเป็นตัวเงิน จะประเมินค่าต้นสักที่ขายไปเป็นตัวเงินได้อย่างไรครับ (สมมติว่าเขาไม่ได้นับจำนวนต้นสัก และวัดเส้นรอบวงของต้นสักไว้ก่อน)

    ขอขอบพระคุณอย่างสูงครับ,
    ธีรภัทร์ กาญจนนิรินธน์

    คำตอบ

    1.ถ้าในพินัยกรรมมิได้กำหนดอะไรไว้ เจ้าของไม้สักก็ต้องเอาไม้สักออกไป หรือมิฉะนั้นก็ขอเช่าที่ดินเขาไปพลางก่อนจนกว่าไม้สักจะโตพอ หรือมิฉะนั้นก็ซื้อที่ดินนั้นจากเจ้าของ

    2. อ้าว ทำไมไปว่าเขาใจร้ายล่ะ ก็ที่ดินของเขา คุณได้ประโยชน์ก็ต้องจ่ายค่าตอบแทนเป็นของธรรมดา 

    3. เขาไม่มีสิทธิขายต้นสัก แต่ถ้าเขาขายไปคุณก็มีสิทธิเรียกค่าต้นสักและค่าเสียหายจากเขาได้  เขาน่ะไม่รู้หรอกว่ามีกี่ต้น และขนาดเท่าไร คุณต่างหากที่จะต้องรู้  ถ้ายังไม่รู้ก็รีบไปนับ และวัด พร้อมทั้งถ่ายรูปเอาไว้เสียโดยเร็ว


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    27 สิงหาคม 2555