ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    046945 พินัยกรรมกับสามีต่างชาติแพงขวัญ19 พฤษภาคม 2555

    คำถาม
    พินัยกรรมกับสามีต่างชาติ

    เรียน ท่านอาจารย์มีชัย ที่เคารพ

    ดิฉันแต่งงานกับชาวต่างชาติโดยจดทะเบียนถูกต้อง  ก่อนแต่งงานดิฉันมีบ้านและที่ดินเป็นของตนเอง ส่วนบ้านยังผ่อนส่งกับธนาคาร  ดิฉันได้ทำพินัยกรรมเป็นจดหมายบันทึกด้วยมือยกบ้านและที่ดินให้กับหลานตั้งแต่ก่อนแต่งงาน ต่อมาได้แต่งงานกับสามีซึ่งเป็นชาวต่างชาติ และสามีได้เข้ามาปลูกบ้านใหม่บนที่ดินแปลงของดิฉันที่ทำพินัยกรรมยกให้หลานไว้แล้ว  ขอเรียนถามดังนี้คะ

    1. หากดิฉันเสียชีวิต บ้านใหม่ที่สร้างบนที่ดินของดิฉันที่ทำพินัยกรรมให้หลานไปแล้วจะตกเป็นของใคร และสามีมีสิทธิขายหรือไม่ ถ้าดิฉันจะเพิ่มข้อความในพินัยกรรมให้สามีอยู่ในบานไปตลอดชีวิตห้ามขายจะได้หรือไม่คะ อยากยกบ้านให้หลานคะ เพราะไม่มีลูก

    2. บ้านอีกหลังหนึ่งทำพินัยกรรมยกให้หลานก่อนแต่งงานไปเหมือนกัน  หากดิฉันเสียชีวิตบ้านหลังนี้จะตกเป็นทรัพย์สินของสามีหรือของหลาน และสามีจะมีสิทธิ์ซื้อหรือขายบ้านของดิฉันได้หรือไม่ หรือเป็นมรดกของของหลานตามพินัยกรรมที่ระบุไว้คะ   

    ขอบคุณมากคะ

    คำตอบ

    1. พินัยกรรมนั้นเมื่อทำแล้ว จะยกเลิกและเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือทำไมทั้งหมดเมื่อไรก็ได้เสมอ เมื่อทำใหม่แล้ว ก็ฉีกทิ้งของเก่าแล้วเผาไฟเสีย อย่าเก็บไว้ให้เกิดปัญหาในวันหน้า สำหรับบ้านนั้น ถ้าคุณไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรม ก็จะเป็นมรดกที่ไม่มีพินัยกรรม จะตกได้แก่สามีคุณ กับพ่อแม่พี่น้องของคุณ (ที่เป็นทายาทโดยธรรม) แต่ถ้าคุณต้องการให้ได้แก่หลาน ก็ควรทำพินัสยกรรมเสียใหม่ ยกให้หลาน และเมื่อต้องการให้สามีมีสิทธิอยู่อาศัยเก็บกินหาประโยชน์ในบ้านหลังนั้นไปจนกว่าจะตาย ก็ให้ระบุไว้ในพินัยกรรมให้หลานไปจดทะเบียนให้สามีคุณมีสิทธิเก็บกินในบ้านหลังนั้นไปจนกว่าจะเสียชีวิต แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องระมัดระวังด้วยว่าบ้านนั้นเป็นของใคร เพราะถ้าเป็นบ้านที่สามีปลูกขึ้นในระหว่างสมรสกับคุณ บ้านนั้นก็เป็นของเขาครึ่งหนึ่งเป็นของคุณครึ่งหนึ่ง ส่วนที่เป็นครึ่งของเขาคุณจะนำไปยกให้ใครไม่ได้ เพราะไม่ใช่ของคุณ

    2. ถ้าบ้านนั้นคุณมีมาก่อนสมรส บ้านนั้นก็เป็นสินส่วนตัวของคุณ ถ้าคุณทำพินัยกรรมยกให้หลาน ก็จะตกเป็นของหลานทั้งหมด


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    19 พฤษภาคม 2555