ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    046723 อ้างถึงคำถามที 046698นายอ๊อด19 เมษายน 2555

    คำถาม
    อ้างถึงคำถามที 046698

    ที่ได้เรียนถามท่านถึงน้องชายที่ได้รับมรดกจากพ่อ (พ่อระบุไว้ในพินัยกรรมที่มีการกำหนดแปลงที่ดินที่มอบให้ลูกแต่ละคนเฉพาะเลย) และน้องชายตายหลังบิดา และแม่ยังมีชีวิต

    คำถาม คือ
    1.  ที่ท่านตอบว่า มรดกที่มีพินัยกรรมไม่มีการแทนที่ จะหมายความว่า ที่ดินแปลงที่น้องชายควรได้รับ (แต่ตายไปก่อน) จะตกเป็นของลูกอีก 3 คน (+แม่) ที่ต้องมาตกลงกันใหม่ และกรณีนี้ลูกชายและภรรยาของน้องชายมีสิทธิในส่วนแบ่งนี้ด้วยหรือไม่ครับ

    2. ถ้าลูกของน้องชายมีสิทธิ์ในส่วนแบ่งด้วย อย่างนี้ถือว่า เป็นการได้รับมรดกจากพ่อหรือไม่ และเจ้าหนี้ของน้องชายมีสิทธิฟ้องเพื่อขอให้นำส่วนที่ได้รับแบ่งนี้มาให้ชดใช้หนี้ได้หรือไม่

    3. จากข้อ 2 ถ้าลูกของน้องชายมีสิทธิ์ จะขอยกเลิกไม่รับสิทธิ์นี้ได้หรือไม่ เพื่อหลีกเลี่ยงกรณ๊เจ้าหนี้มาฟ้องเรียกใช้คืนหนี้ (ไม่ได้เป็นการขอโกงหนี้ แต่ภรรบาของน้องได้ชดเชยในส่วนที่ไปค้ำประกันหลายล้านแล้ว และไม่ได้ทำงานแล้ว โดยเหลือแตบัตเครดิต 2 - 3 ราย ประมาณไม่เกิน 2 แสนบาท ที่ทวงมาตลอด)

       ขอบคุณท่านมาอีกครั้งครับ

    คำตอบ
    1. ปัญหาคราวที่แล้วคุณพูดทำให้ดูเหมือนว่า บุตรชายตายไปก่อนที่พ่อจะตาย  แต่มาคราวนี้คุณบอกว่าบุตรชายตายหลังจากที่พ่อตาย  ถ้าเป็นกรณีที่บอกมาคราวนี้ มรดกของพ่อจะตกได้แก่บุตรชายตามที่ระบุไว้ (ถึงแม้จะยังไม่ได้โอนทางทะเบียน) สิทธิของเขาก็เกิดขึ้นตั้งแต่พ่อตายแล้ว  เมื่อต่อมาเขาตาย ที่ดินแปลงที่เป็นสิทธิของเขาก็กลายเป็นเป็นมรดกของเขาที่จะตกได้แก่ลูก ๆ ของเขา
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    19 เมษายน 2555