ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    046557 ค่าทดแทนที่ดินสุทิน26 มีนาคม 2555

    คำถาม
    ค่าทดแทนที่ดิน

    กราบเรียน ท่านอาจารย์มีชัย ที่เคารพอย่างสูง

            กระผมมีปัญหาสอบถามครับ ข้อเท็จจริงมีว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิคแห่งประเทศไทย (กฟฝ.) ได้ประกาศกำหนดเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้า เมื่อปี 2553 ผ่านที่ดินของตาซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว เมื่อปี 2550  ซึ่งบุตรของตาทั้งหมด 7 คน และทุกคนยังมีชีวิตอยู่  ได้ไปยื่นคำร้องต่อสำนักงานที่ดินเพื่อขอรับมรดก ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้สอบสวนสิทธิและประกาศตามระเบียบแล้ว ไม่มีผู้คัดค้าน เจ้าพนักงานที่ดินจึงได้จดทะเบียนใส่ชื่อบุตรทั้ง 7 เป็นเจ้าของที่ดินร่วมกัน เมื่อวันที่ 20 ก.พ.2555 ต่อมาบุตรทั้ง 7 ได้ไปยื่นคำร้องขอรับค่าทดแทนจาก กฟฝ.แต่เจ้าหน้าที่บอกว่า ต้องไปยื่นคำร้องขอจัดการมรดกต่อศาลเสียก่อนแล้วนำคำสั่งศาลไปขอรับเงินค่าทดแทนโดยอ้างว่าค่าทดแทนเป็นมรดก และ กฟฝ.จะจ่ายเงินค่าทดแทนเป็นเช็คระบุชื่อของตาซึ่งเป็นบุคคลที่ปรากฎชื่อในขณะ กฟฝ.ประกาศกำหนดเขตฯ เท่านั้น  ขอทราบว่า

           1.เงินค่าทดแทนที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของตาหรือไม่ เพราะเหตุใด

           2.บุตรทั้ง 7 ต้องไปยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอจัดการมรดกหรือไม่

           3.กฟฝ.จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนเป็นเช็คในชื่อของผู้ตาย หรือบุตรของ    ผู้ตายคนใดคนหนึ่ง หรือทั้ง 7 คน

           4.ถ้า กฟฝ.จ่ายค่าทดแทนเป็นเช็คระบุชื่ของผู้ตาย แล้วบุตรนำเช็คไปขึ้นเงินต่อธนาคาร ฯ ธนาคารฯ จะสามารถจ่ายเงินให้แก่บุตรทั้ง 7 ของผู้ตายได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

          5.กรณีดังกล่าวถ้าบุตรทั้ง 7 ได้ทำความตกลงกันและมอบอำนาจให้ทายาทคนใดคนหนึ่งมีอำนาจรับเงินค่าทดแทนจาก กฟฝ.จะทำได้หรือไม่

          6.หาก กฟฝ.ยืนยันว่าจะต้องไปยื่นคำร้องต่อศาลขอจัดการมรดกเสียก่อน หรือจ่ายค่าทดแทนเป็นเช็คระบุชื่อของผู้ตายและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จะมีวิธีได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมายอย่างไรบ้าง

                       ขอกราบพระคุณอาจาย์ล่วงหน้าเป็นอย่างสูง

     

     

     

     

     

     

    คำตอบ

    1. เป็นมรดกของตาซี เพราะตาเป็นเจ้าของที่ดิน

    2. ถ้าอยากไปรับเงินมาก็ต้องตั้งผู้จัดการมรดก คนที่จะต้องจ่ายเงินเขาจะได้แน่ใจว่าเขาจ่ายถูกคน

    3. เมื่อตามหลักฐานที่ กฟผ. มีอยู่ ที่ดินนั้นเป็นของตา เขาก็ต้องจ่ายค่าทดแทนให้ตา จะไปจ่ายให้คนอื่นได้อย่างไร

    4. ธนาคารเขาก็จ่ายให้ผู้จัดการมรดกเหมือนกัน

    5. ถ้าคนนั้นเป็นผู้จัดการมรดก ก็ย่อมทำได้

    6. ก็ไปร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกนั่นแหละเป็นธรรมที่สุด เพราะแต่ละคนเขาก็ต้องป้องกันตัวเอง จะให้เขาเชื่อคำพูดของทายาทง่าย ๆ ได้อย่างไร เพราะเขาไม่มีทางรู้ว่ามีทายาทกี่คน แต่ถ้าตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว เขาจ่ายให้ผู้จัดการมรดก เขาก็ปลอดภัย ส่วนผู้จัดการมรดกจะไปจ่ายให้ใครก็เป็นเรื่องที่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดชอบเอาเอง


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    26 มีนาคม 2555