ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    045576 ทรัพย์มรดกเบ็ญจมาศ30 สิงหาคม 2554

    คำถาม
    ทรัพย์มรดก

    กราบเรียนอาจาร์ที่เคารพ

    ดิฉันขอเรียนถามเพิ่มเติม จากคำถามเดิมที่ 045453  ว่า มรดกของดิฉันจะถูกแบ่งให้ลูกเลี้ยงไม๊ยค่ะ อยากทราบเกี่ยวกับคำว่ามรดกส่วนตัวค่ะ

    1. ดิฉันทำงานบริษัท มีเงินฝากอยู่ที่ธนาคาร หลายแห่งแต่เป็นชื่อดิฉันคนเดียว  บางเล่มก็เป็นชื่อดิฉันกับลูกชาย

    2.  ดิฉันซื้อสลากออมสินเป็นชื่อดิฉันคนเดียว

    3. ดิฉันซื้อทองรูปพรรณไว้มากพอสมควร

    อยากเรียบถามอาจารย์ว่า ที่กล่าวมา 3 ข้อข้างต้น ถือเป็นมรดกส่วนตัวไม๊ยค่ะ (ถ้าดิฉันตาย ทั้ง 3 ข้อตกเป็นของลูกชายทั้งหมดได้ไม๊ยค่ะ) เพราะทุกวันนี้ต่างฝ่ายต่างทำงาน ต่างใช้เงินของตัวเอง  ส่วนค่าเรียนและค่าใช้จ่ายของลูกชายก็แบ่งจ่ายกันคนละครึ่งค่ะ

    ขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูงที่สละเวลาตอบคำถามค่ะ

     

     

     

    คำตอบ

    มรดกส่วนตัวไม่มี มีแต่สินส่วนตัว

    เมื่อเวลาที่คุณตาย คุณมีทรัพย์สินเท่าไร (ในส่วนที่เป็นของคุณ) ก็เป็นมรดกที่จะตกทอดแก่ทายาทของคุณ หรือถ้าคุณทำพินัยกรรมยกให้ใคร คนนั้นก็ได้ไป  ถ้าสามีคุณตาย ทรัพย์สินส่วนที่เป็นของเขา ก็เป็นมรดกตกทอดได้แก่ทายาทของเขา หรือถ้าเขาทำพินัยกรรม ให้ใครคนนั้นก็ได้ไป

    ในระหว่างที่เป็นสามีภรรยากันนั้น ทรัพย์สินแยกออกเป็น ๒ ส่วน ๆ หนึ่ง คือ ทรัพย์สินส่วนตัว ได้แก่ทรัพย์สินที่คุณมีมาก่อนสมรส หรือที่ได้รับมรดกมา หรือมีคนยกให้มา (ไม่ว่าจะได้มรดกหรือได้รับการยกให้ก่อนหรือหลังสมรส)   ส่วนทรัพย์สินอื่น ๆ ที่ได้มาในระหว่างสมรส เช่น เงินเดือน หรือรถยนต์ที่ซื้อมาในระหว่างสมรส ทองที่ซื้อมา พันธบัตรที่ซื้อมา ไม่ว่าในชื่อของใคร หรือดอกเบี้ยของเงินฝากที่ได้มา (แม้เงินฝากนั้นจะเป็นสินส่วนตัว) สิ่งที่ได้มาเรียกว่า สินสมรส  สามีและภรรยามีส่วนกันคนละครึ่ง  เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายไป สินส่วนตัวของเขาก็ย่อมเป็นของเขา ส่วนสินสมรสก็ต้องแบ่งกันคนละครึ่ง   สินส่วนตัวดังกล่าวและสินสมรสส่วนของเขา ก็จะตกทอดแก่ทายาทหรือผู้รับพินัยกรรม

        อนึ่ง สามีและภริยา ต่างกันมีสิทธิได้รับมรดกของอีกฝ่ายหนึ่งเช่นเดียวกับทายาทชั้นลูก

        คำว่าทายาท หมายถึงบุตรหลานของแต่ละคน เช่น ถ้าคุณมีลูกกับเขา ลูกคนนี้ก็จะเป็นทายาทของคุณและเป็นทายาทของเขาด้วย   แต่ถ้าเขามีลูกกับคนอื่น ลูกคนนั้นก็เป็นทายาทของเขา แต่ไม่ใช่ทายาทของคุณ เพราะไม่ใช่ลูกคุณ

         ถ้าค่อย ๆ อ่าน ก็จะเข้าใจได้


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    30 สิงหาคม 2554