ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    045542  พินัยกรรมระบุยกให้เฉพาะที่ดินจะรวมถึงสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินด้วยหรือไม่pumpui24 สิงหาคม 2554

    คำถาม
    พินัยกรรมระบุยกให้เฉพาะที่ดินจะรวมถึงสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินด้วยหรือไม่

    พี่สาวมีที่ดิน(รับมรดกจากมารดา)และได้สร้างบ้านบนที่ดิน 1 หลัง ต่อมาพี่สาวได้แต่งงานภายหลังได้ป่วยหนักก่อนตายได้เรียกหลานพร้อมสามีมาสั่งเสียว่า ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินพร้อมบ้านให้หลาน พอเปิดพินัยกรรมปรากฎว่าในพินัยกรรมระบุเฉพาะยกที่ดินให้หลานไม่ได้ระบุสิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน
    ขอเรียนถามดังนี้

    1. มรดกที่หลานได้รับจะได้รับเฉพาะที่ดิน หรือพร้อมบ้านพักอาศัย เพราะสามีพี่สาว(ผู้ตาย) บอกว่าให้ได้เฉพาะที่ดิน ส่วนบ้านไม่ให้เพราะในพินัยกรรมระบุแต่ที่ดิน

    2. นอกจากบ้านพักอาศัย 1 หลังแล้วในที่ดินดังกล่าวยังมีสิ่งปลูกสร้างที่เป็นอาคารโรงเรือนอีก 2 หลัง ซึ่งภายหลังที่พี่สาวเสียชีวิตสามีได้แอบมาทุบรื้อถอนเอาโครงเหล็กของโรงเรื่อนทั้ง 2 หลังไป โดยอ้างว่าโรงเรือนดังกล่าวเขามีสิทธิ์รือถอนไปได้ โดยมีข้ออ้างดังนี้
     
        2.1 อ้างว่าพี่สาว(ผู้ตาย) สั่งว่าให้รื้อไปได้หลังจากที่ตาย(แต่ไม่มีระบุข้อความดังกล่าวในพินัยกรรม) การอ้างคำพูดผู้ตายแบบนี้ทางกฎหมายจะยอมรับหรือไม่

        2.2 อ้างว่าโรงเรือนทั้ง 2 หลัง เป็นสินสมรส เขาสามารถมาทุบเอาไปได้ ถูกต้องหรือไม่

    3.ควรจัดการเรื่องที่อย่างไร เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย

    คำตอบ

    1. ขึ้นอยู่กับข้อความในพินัยกรรมว่าเมื่ออ่านโดยรวมแล้วได้ยกบ้านให้ด้วยหรือไม่  ถ้าอ่านแล้วไม่ได้ความชัด และหากบ้านนั้นเป็นสินสมรสจริง การยกให้ก็ทำไม่ได้เพราะต้องแบ่งกันระหว่างสามีภรรยาเสียก่อน ที่เหลือจึงจะเป็นมรดกตกทอดได้แก่ทายาท

    2.1-2.2 คำพูดด้วยวาจาคงอ้างไม่ได้  แต่สิ่งที่จะอ้างได้ก็คือ ทรัพย์นั้นเป็นสินสมรสหรือไม่ ถ้าเป็นสินสมรสเขาก็มีสิทธิครึ่งหนึ่ง แต่อยู่ ๆ เขามารื้อออกไปเองน่ะ ทำไม่ได้ ไม่ควรให้เขามารื้อ เว้นแต่จะตกลงกันเสียก่อนว่าส่วนไหนเป็นของใครอย่างไร

    3. การจัดการที่ดีก็คือพูดคุยกันเพื่อทำความตกลงกันให้ได้ อะไรที่เป็นของเขาหรือควรเป็นของเขาก็ให้เขาไป


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    24 สิงหาคม 2554