ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    045040 ระยะเวลาการเป็นผู้จัดการมรดกรินทร์21 มิถุนายน 2554

    คำถาม
    ระยะเวลาการเป็นผู้จัดการมรดก
    คุณพ่อ ได้เสียชีวิตแล้วแต่ยังไม่ได้ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สิน คือบ้าน ซึ่งมีผู้ที่เกี่ยวข้องที่ต้องรับมรดกคือ ภรรยา(คนที่2)ที่จดทะเบียนสมรสแล้วหลังจาก ภรรยาคนแรกตาย และมีลูกด้วยกัน 1คน ส่วนคุณพ่อก็มีลูกที่ติดมากับเมียคนเก่าที่จดทะเบียน และเสียชีวิตไปแล้ว 3 คน  สรุปคือมีลูก 4 คน และเมียใหม่ 1 คนที่ยังมีชีวิตอยู่ ก่อนตายพ่อเอาที่ดินไปจำนอง และเมื่อถึงคราวต้องไถ่ถอนพ่อได้ตายไปแล้ว และเจ้าหน้าที่ที่ดินไม่ยอมให้ทำการไถ่ถอน จนกว่าจะมีการตั้งผู้จัดการมรดก พี่น้องทุกคนที่เหลือรวมทั้งแม่เลี้ยงจึงแต่งตั้งให้ลูกคนโตเป็นผู้จัดการมรดกโดยยื่นคำร้องต่อศาล และตอนนี้ระยะเวลาผ่านไป 4 ปี หลังจากศาลอนุมัติ ผู้จัดการยังไม่ได้ดำเนินการแบ่งทรัพย์สินที่มีอยู่ โดยที่พี่น้องทุกคล และแม่เลี้ยงยังเห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นต้องแบ่ง เพราะทุกคนสามารถอยูด้วยกันได้ดี  กรณีนี้ จะมีผลต่อระยะเวลา หรือการหมดอายุตามกฎหมายของการจัดการมรดกหรือไม่ครับ คือทุกคนไม่เดือดร้อน และอยู่กันอย่างมีความสุข แต่ที่ต้องเดินเรื่องเป็นผู้จัดการมรดกเนื่องจากต้องการไถ่โอนบ้านคืนจากการจำนอง  ขอความกรุณาอธิบายด้วยครับ ขอบคุณครับ
    คำตอบ
    การที่ในขณะนี้อยู่กันอย่างมีความสุข ก็แปลว่ายังสามัคคีกันดีอยู่ จึงควรรีบแบ่งเสียในตอนนี้ หนักนิดเบาหน่อยก็จะได้พอยอมกันได้ ดีกว่าไปแบ่งเอาตอนที่ทะเลาะกันแล้ว ถึงตอนนั้นมรดกจะหมดไปกับค่าดำเนินคดี  สำหรับอายุความนั้น ถ้าทรัพย์สินอยู่ที่ผู้จัดการมรดก อายุความก็ยังไม่เริ่มนับ
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    21 มิถุนายน 2554