ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    044870 แม่จะขอสละสิทธ์ ผู้จัดการมรดกสุรัตน์7 มิถุนายน 2554

    คำถาม
    แม่จะขอสละสิทธ์ ผู้จัดการมรดก
    สวัสดีครับ ผมขอความช่วยเหลือครับผม

     คือว่าตอนนี้แม่เป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม โดยในพินัยกรรมพ่อมอบทรัพย์สินให้กับแม่แต่ผู้เดียว และให้แบ่งให้กับบุตรตามที่เห็นสมควร...

     และเมื่อแม่ขอไปขอโอนที่ดินเป็นชื่อแม่ แต่เนื่องจากไม่มีทะเบียนสมรส(มีใบหย่า) จึงต้องเสียค่าโอนร้อยละ2.0%

     ผมลองถามกรมที่ดินดูแล้วเขาบอกตามพินัยกรรมต้องโอนเป็นชื่อแม่ก่อน
    แล้วจึงโอนให้ลูกๆ 0.5% 

    ทางบ้านก็ไม่มีเงินค่าโอนมากมาย ถ้าแม่ต้องเสียค่าโอน2.0% ทุกโฉนดก็ต้องหาเงินมากโข หรืออาจจะหาไม่ได้ครับ

     อยากทราบว่า

    1- ถ้าแม่ไปร้องขอกับศาลว่าจะขอถอนสิทธ์ผู้จัดการมรดกและไม่ขอรับทรัพย์สินไว้เอง โดยจะให้ลูกๆเป็นผู้จัดการและร่วมกันถือกรรมสิทธ์แทน ได้ไหมครับ 

    2- ตอนนี้เรื่องโอนที่เคยทำไปอยู่ในระยะประกาศ30วัน เราสามารถไปขอระงับเรื่อง,ยกเลิกก่อนได้ไหมครับ

    (เพื่อที่เวลาโอนแล้วจะได้เป็นชื่อลูกๆร่วมกันค่าโอน0.5%)

    กรุณาชี้แนะทีนะครับ เราไม่มีปัญญาหาเงินมาเสียค่าโอนมากๆครับ

    ขอบพระคุณครับ
    คำตอบ
    1. ถ้าไปโอนใส่ชื่อแม่ในฐานะเป็นผู้จัดการมรดก ก็ยังไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมอะไร  ต่อเมื่อจะโอนให้แก่ทายาทจึงจะเสียร้อยละ ๕๐ สตางค์
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    7 มิถุนายน 2554