ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    044722 ปรึกษาปัญหามรดกเกี่ยวกับบุตรบุญธรรมนาย วินชนะ26 พฤษภาคม 2554

    คำถาม
    ปรึกษาปัญหามรดกเกี่ยวกับบุตรบุญธรรม

    อยากปรึกษาอาจารย์ครับ


    เรื่องมีอยู่ว่า นายหนึ่งมีบุตร 4 คนด้วยกัน คือ นายA นายB นายC นายD นายหนึ่งมีความคิดว่าต้องการเงินบำนาญต่อหลังจากตนเสียชีวิต จึงรับบุตรของนายDซึ่งยังเด็กเป็นลูกบุญธรรม โดยรับรู้กันในลูกๆและหมู่ญาติว่า เป็นการรับเพื่อผลประโยชน์หลังนายหนึ่งเสียชีวิต โดยเด็กคนนี้ไม่มีสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนอื่นๆ อีกหนึ่งประเด็นคือบ้านที่อยู่อาศัย สมัยยังมีชีวิตอยู่นายหนึ่งได้ปลูกบ้านให้ลูกทั้งสี่คนในต่างที่ดินกัน โดยโฉนดยังเป็นชื่อนายหนึ่ง ซึ่งแต่ละคนได้อยู่อาศัยมาราวๆ 30 ปีแล้ว

    ต่อมานายหนึ่งเสียชีวิตโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ เพียงแบ่งโดยปากเปล่าให้ลูกทั้งสี่ทราบโดยทั่วกัน ลูกๆทั้ง4 จึงทำสัญญาตกลงกันให้ นายAและนายB ในฐานะลูกคนโตและคนรองเป็นผู้จัดการมรดกร่วม โดยนายAและนายBได้แบ่งทรัพย์สินและที่ดินส่วนต่างๆของนายหนึ่งตามที่ได้ตกลงกันไว้แต่แรกโดยที่อยู่อาศัยก้อเหมือนเดิมคือของใครของมัน ส่วนทรัพย์สินและที่ดินอื่นๆได้หาร 4 เท่าๆกัน ส่วนเงินบำนาญพิเศษที่ได้มาหลังจากการเสียชีวิตทั้งหมดยกให้ลูกของนายD (ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของนายหนึ่ง)

    ปรากฎว่านายD เกิดละโมภโลภมากจึงจะให้บุตรของตน (ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของนายหนึ่ง) มาร่วมเป็นตัวหารที่ 5 ขอถามว่า
    1. ทรัพย์สินที่โอนแล้ว จะถูกเรียกคืนมาหาร 5 หรือไม่
    2. นายD กับลูกชายต้องการให้ นายA นายB และนายC เอาเนื้อที่บ้านที่อยู่อาศัยมาแบ่งให้ โดยอ้างเหตุว่าบ้านที่ตนอยู่พื้นที่เล็กว่าเพื่อน
    3. นายA นายB นายC จะมีทางออกอย่างไรบ้าง
    4. ถึงบุตรของนายD จะเป็นลูกบุญธรรมนายหนึ่งแล้ว แต่นายDก้อยังเอาชื่อลูกของตนมาเบิกสวัสดิการของบริษัท ทั้งค่าเล่าเรียนที่ต่างประเทศ ค่าเดินทางและอื่นๆ อันนี้นายDสามารถทำได้ด้วยหรือ (นายD ทำงานในบริษัทต้นๆของประเทศ พอย้ายไปต่างประเทศ จึงเอาบุตรของตนไปเรียนต่อที่นั่นร่วมๆ 10 ปี โดยเบิกทุกอย่างจากบริษัท )

    ขอบคุณครับ

    คำตอบ

    1. ก็ต้องสุดแต่ผู้จัดการมรดกกับทายาทจะตกลงกันเรียกคืนมาหารกันใหม่ หรือจะให้แต่ละคนชดใช้ส่วนที่เป็นของบุตรบุญธรรม

    2. เหตุที่อ้างว่าพื้นที่ของตนเล็กกว่าเพื่อนนั้น ใช้อ้างไม่ได้  แต่การที่เจ้ามรดกรับเด็กมาเป็นบุตรบุญธรรม ทำให้เด็กนั้นมีสิทธิในมรดกเท่า ๆ กับลูกคนอื่น ๆ

    3. คงต้องตรวจสอบดูกันให้แน่ว่า บ้านที่เจ้ามรดกปลูกและให้แต่ละคนแยกย้ายกันไปอยู่ในที่ดินกันมาเป็นเวลา ๓๐ ปีนั้น แต่ละคนได้ที่ดินนั้นไปโดยการครอบครองปรปักษ์แล้วหรือไม่

    4. จะไปอิจฉาเขาทำไมล่ะ  การที่ลูกไปเป็นลูกบุญธรรมของคนอื่น ไม่ได้ทำให้พ่อแม่เดิมหมดความรับผิดชอบในลูกไปได้


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    26 พฤษภาคม 2554