ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    044408 ความหมายของผู้สืบสกุลในพินัยกรรมขวัญฤทัย26 เมษายน 2554

    คำถาม
    ความหมายของผู้สืบสกุลในพินัยกรรม

    เรียนท่านอาจารย์ที่เคารพยิ่ง

    คุณปู่ได้ทำพินัยกรรม ยกมรดกส่วนหนึ่งให้ผู้สืบสกุลของลูกชาย (ลูกชายเสียชีวิตแล้ว แต่ได้แต่งงานจดทะเบียนสมรส และมีลูกชาย 1 คน) โดยได้แต่งตั้งลูกชายที่ยังมีชีวิตอยู่เป็นผู้จัดการมรดก แต่เนื่องจากลูกชายของบุตรที่เสียชีวิตแล้ว ได้เปลี่ยนนามสกุลไปใช้นามสกุลของคุณตา ผู้จัดการมรดกบอกว่าเมื่อเปลี่ยนนามสกุลไปแล้ว ถือว่าไม่ใช่ผู้สืบสกุล และจะไม่ให้มรดกตามที่ระบุในพินัยกรรม จึงขอเรียถามว่า ผู้สืบสกุลตามพินัยกรรมหมายความว่า ผู้นั้นต้องใช้นามสกุลของเจ้าของพินัยกรรมหรือไม่ หลานชายซึ่งเป็นลูกแท้ๆ ของลูกชายคุณปู่ แต่เปลี่ยนนามสกุล จะหมดสิทธิ์ตามพินัยกรรมหรือไม่่

    ขอบพระคุณค่ะ

    ขวัญฤทัย

    คำตอบ
    ข้อกำหนดในพินัยกรรมไม่ชัดเจนเพียงพอ อาจตีความได้หลายนัย ถ้าจะฟ้องร้องต่อสู้คดีก็น่าจะมีทางอยู่  แต่ถ้าจะไม่ให้เกิดปัญหาหรือต้องฟ้องร้องกัน ก็ให้หลานปู่เปลี่ยนนามสกุลมาใช้นามสกุลของพ่อเสียก่อน ซึ่งน่าจะนามสกุลเดียวกับปู่ ก็คงจะเรียบร้อย
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    26 เมษายน 2554