ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    043656 การขอแบ่งทรัพย์จากผู้จัดการมรดกในภายหลังพิมพ์7 กุมภาพันธ์ 2554

    คำถาม
    การขอแบ่งทรัพย์จากผู้จัดการมรดกในภายหลัง

    เรียน ท่าน อ.ที่เคารพ

           ดิฉันขออนุญาตถาม อ.เกี่ยวกับกรณีผู้จัดการมรดก ดังนี้

           นาย ก บิดา มีบุตร 5 คน ได้โอนที่ดินให้บุตรแล้ว 4 คน เหลือเพียงนาง ข บุตรสาวที่ยังไม่โอนให้ด้วยให้เหตุผลว่ากลัวว่าเมื่อนาง ข ได้รับที่แล้วจะทอดทิ้งไปอยู่ที่อื่น ต่อมานาย ค บุตรนาย ก ได้เสียชีวิต และนาย ก เองก็ได้เสียชีวิตในปี 2538 นาง ข บุตรสาวจึงร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ศาลมีคำสั่งให้นาง ข เป็นผู้จัดการมรดกเมื่อปี 2549 และนาง ข ก็ได้โอนที่ทั้งหมดดังกล่าวให้นาง ง ผู้เป็นบุตร ดิฉันขอเรียนถาม อ.ดังนี้

           1.หากภายหลังบุตรนาย ก รวมถึงทายาทของนาย ค จะขอแบ่งที่ดินที่ได้โอนเป็นชื่อนาง ง แล้วสามารถทำได้หรือไม่ มีกำหนดอายุความหรือไม่

           2.หากมีการฟ้องแบ่งที่ดังกล่าว จะต้องแบ่งในลักษณะใด และศาลจะพิจารณาถึงประเด็นที่บุตรคนอื่นๆ ที่นาย ก ได้โอนที่ให้แล้วด้วยหรือไม่ อย่างไร

           3.นาง ข และนาง ง จะมีความผิดใดหรือไม่

           4.หากผู้ใดไม่ประสงค์จะขอแบ่ง จะต้องมีหลักฐานใดหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง

    *หมายเหตุ  ที่ดินดังกล่าวทั้งหมดนาง ข ได้ทำกินตั้งแต่ต้นก่อนนาย ก เสียชีวิต เนื่องจากอยู่เลี้ยงดูนาย ก มาโดยตลอด

          ขอขอบพระคุณ อ.อย่างสูง

    คำตอบ

    1. บุตรของนาย ก.ทุกคนเป็นทายาท เขาจึงมีสิทธิมาเรียกเอาส่วนแบ่งของเขาจากผู้จัดการมรดกได้  และจะเรียกเมื่อไรก็ได้ตราบที่ผู้จัดาการมรดกยังไม่ได้แบ่งให้ทายาท การที่ นาง ข. เอาที่ไปโอนให้ นาง ง. นั้น ไม่มีอำนาจกระทำได้ เมื่อโอนไปแล้วก็ต้องรับผิดต่อทายาททุกคน

    2. ก็ต้องแบ่งให้ทายาทที่เป็นบุตรทุกคน ๆ ละเท่า ๆ กัน  ส่วนที่เคยได้ไปแล้ว ก็เป็นสิทธิของเขาไม่เกี่ยวกับมรดก

    3. นาง ง. ไม่ผิด แต่นาง ข. ผิด

    4. เมื่อแบ่งแล้วก็ให้ทุกคนลงลายมือชื่อรับไป


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    7 กุมภาพันธ์ 2554