ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    043533 ทรัพย์ตกทอดต้นข้าว28 มกราคม 2554

    คำถาม
    ทรัพย์ตกทอด

    สวัสดีค่ะ

     

    ขอรบกวนปรึกษาอาจารย์ค่ะ

    บ้านที่อาศัยอยู่ตอนนี้ อยู่มาตั้งแต่สมัยคุณปู่คุณย่า เป็นบ้านเช่า ต่อมาในปี 2512 คุณปู่ย่าได้ลงทุนเปิดเป็นร้านให้พ่อค้าขาย ซึ่งญาติพี่น้องของพ่อก็แยกย้ายกันออกไปหมดแล้ว เหลือแต่เราครอบครัวเดียว

    ในปี 2535 ทางเจ้าของบ้านต้องการจะขายบ้านหลังนี้ แม่จึงได้ถามทางญาติพี่น้องของพ่อว่ามีใครจะซื้อไว้มั้ย แต่ไม่มีใครต้องการ  แม่จึงซื้อไว้เอง และให้ใส่เป็นชื่อของลูกๆ  เพราะพ่อเป็นคนต่างด้าวและมี 2 บ้าน ต่อมาแม่ได้เสียชีวิตในปี 2541 (แม่จดทะเบียนสมรสกับพ่อ)

    ปัจจุบันนี้ ถ้าลูกๆตกลงกันว่าจะขายบ้านหลังนี้ ไม่ทราบว่า ในกรณีอย่างนี้ ทั้งพ่อ ลูกเมียอีกบ้าน หรือญาติพี่น้องของพ่อ จะมีสิทธิ์เรียกร้องใดๆหรือไม่ (กรณีที่แม่โอนมาให้เป็นชื่อของลูกๆแล้ว ยังถือว่าเป็นสินสมรสหรือไม่)

    อีกคำถามนะคะ ถ้าพ่อสร้างหนี้ไว้นานแล้ว หนี้สินเหล่านั้นจะตกมาเป็นภาระของลูกๆหรือเปล่า และหนี้สินทั่วไปมีอายุความกี่ปีคะ

                ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ

    คำตอบ
    ถ้าเขาใส่ชื่อของลูกมาแต่ต้น ก็ต้องถือว่าเป็นทรัพย์สินของลูก ไม่ใช่มรดกของแม่  หรือของใครทั้งนั้น  จึงไม่มีใครมีสิทธิมายุ่งด้วยได้  สำหรับหนี้สินของพ่อนั้น เมื่อคุณเป็นทายาท ก็ต้องรับผิดทั้งมรดกและหนี้สิน  แต่ไม่ต้องรับผิดชอบเกินส่วนมรดกที่ได้รับมา เช่น ถ้าได้รับมรดกมา ๑๐๐ บาท มีหนี้ ๑,๐๐๐ บาท ก็รับผิดเพียงไม่เกิน ๑๐๐ บาท  แต่เวลาที่เจ้าหนี้เขาฟ้อง จะต้องไปสู้คดี อย่านอนเฉย มิฉะนั้นศาลจะไม่รู้ว่าคุณได้รับมรดกมาเท่าไร
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    28 มกราคม 2554