ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    042530 การแบ่งทรัพย์มรดกนารี4 พฤศจิกายน 2553

    คำถาม
    การแบ่งทรัพย์มรดก

    เรียน ท่านอาจาร์ยมีชัย ดิฉันมีคำถามดังนี้ค่ะ

    นาย ก. เสียชีวิต มีภรรยา 1 คน , บุตรสาว 1 คน และ บุตรชาย 3 คน ไม่ได้ทำพินัยกรรม 

    1. ค่าเช่าที่เกิดจากที่ดินของนาย ก. จะนำมาแบ่งให้กับทายาทอย่างไร แต่ละคนจะได้กี่ส่วน เช่น ค่าเช่า 10,000 บาท ใครจะได้เท่าไหร่ มีวิธีคิดอย่างไรคะ

    2. ที่ดินของนาย ก. ถ้าจะนำมาแบ่งแยกให้กับทายาท จะแบ่งอย่างไร ได้คนละกี่ส่วน เช่น ที่ดิน 100 วา ใครจะได้กี่ตารางวา มีวิธัคิดอย่างไรคะ

    ขอบพระคุณมากค่ะ

    คำตอบ

    1. ถ้าที่ดินนั้นนาย ก.ได้มาในระหว่างสมรส (โดยมิใช่ได้มาทางมรดกหรือมีคนยกให้) ที่ดินนั้นเป็นสินสมรส จึงเป็นของภริยา นาย ก. ครึ่งหนึ่ง ที่เหลืออีกครึ่งหนึ่ง จึงแบ่งกันระหว่างทายาท ซึ่งได้แก่ ภริยา บุตรสาวและบุตรชาย คนละเท่า ๆ กัน ถ้านำที่ดินนั้นไปให้เช่า ได้มาเดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาท ในเบื้องต้นต้องแบ่งครึ่งให้ภริยาก่อน เพราะทรัพย์สินที่ให้เช่าเป็นของภริยาครึ่งหนึ่งคือภริยาได้ ๕,๐๐๐ บาท ที่เหลืออีก ๕,๐๐๐ บาทแบ่งกันระหว่างภริยากับบุตร (รวม ๕ คน) คนละ ๑,๐๐๐ บาท  โดยสรุป ภริยาจะได้ค่าเช่า ๖,๐๐๐ บาท ลูก ๆ ได้คนละ ๑,๐๐๐ บาท แต่ถ้าที่ดินนั้นเป็นสินส่วนตัวของนาย ก. ก็แบ่งกันระหว่างภริยากับบุตรคนละเท่า ๆ กัน คือได้คนละ ๒,๐๐๐ บาท

    2. แบ่งอย่างเดียวกับข้อ 1


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    4 พฤศจิกายน 2553