ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    040750 พินัยกรรมนัฐพล22 มิถุนายน 2553

    คำถาม
    พินัยกรรม

    เรียน อาจารย์ที่เคารพครับ

    1.การทำพินัยกรรมแบบใดที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก หมายถึงถ้าผู้ทำพินัยกรรมจะเปลี่ยนแปลงต้องมีขั้นตอน

    2.การทำพินัยกรรมของผมโดยยกยกสินสมรสและสินส่วนตัวให้ภรรยาได้ไหมครับ และหากอยู่กันไปมีสินสมรสเพิ่มขึ้น เราจะระบุในพินัยกรรมอย่างไร ให้ผลนั้นตกถึงสินสมรสที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

    3.อาจารย์ครับ ถ้าหนี้สินของผมเกิดจากการอยู่กินกับภรรยาเก่า และผมหย่าไปแล้วโดยได้โอนบ้าน(จะโอนเป็นชื่อลูกเมื่ออายุครบ20ปี) และรถ ให้ลูก  ถ้าผมตายไปก่อนที่จะผ่อนหนี้หมด  หนี้ก้อนนี้จะตกไปที่บุตรที่เกิดกับภรรยาเก่า หรือไม่ เพราะลูกได้ทรัพย์สินจากการหย่าไปแล้ว

    4.ผมเป็นข้าราชการ ถ้าผมเกษียณอายุ  เงินบำนาญของผมจะยกให้กับภรรยาของผมเพียงคนเดียวได้หรือไม่   ผมจะทำพินัยกรรมไว้ให้นะครับ  

    5.สัญญาก่อนสมรสคืออะไร  และมันดีอย่างไรครับ  และเราต้องไปทำที่ไหน

    คำตอบ

    1. ทำเป็นพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง คือไปให้นายอำเภอทำให้

    2. ได้ ไปบอกที่อำเภอเถอะเขามีวิธีเขียนให้

    3. หนี้ของคุณคุณก็ต้องใช้ ถ้าคุณตายแล้วยังใช้ไม่หมด เจ้าหนี้เขาก็ตามไปเอาจากทายาทที่รับมรดกจากคุณ

    4. เงินบำนาญนั้นทางราชการเขาจ่ายให้ข้าราชการที่บำนาญ ถ้าคุณตายเขาก็เลิกจ่าย คุณจึงเที่ยวได้ยกให้ใครไม่ได้ เว้นแต่คุณจะไปรับมาแล้วก็เอาใส่ซองไปให้เขา ก็เป็นสิทธิของคุณ  ส่วนในกรณีบำเหน็จตกทอดที่ทางราชการจ่ายให้ ๓ เดือนเมื่อคุณตายนั้น ก็ไม่ใช่สิทธิของคุณ เพราะทางราชการเขาจ่ายให้แก่คู่สมรสกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย

    5. สัญญาก่อนสมรส คือสัญญาที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส คนที่มีทรัพย์สินมาก ๆ และกลัวว่าจะตกอยู่ภายใต้การจัดการของสามี เขาก็มักจะมีสัญญาก่อนสมรสเพื่อแยกทรัพย์สินของตน หรือเข้าไปจัดการสินสมรสเสียเอง  เวลาทำก็ต้องทำตอนจดทะเบียนสมรสเพื่อให้นายทะเบียนเขาระบุไว้ในทะเบียนสมรส  หลังจากจดทะเบียนสมรสแล้วทำไม่ได้ 


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    22 มิถุนายน 2553