ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    040528 ทายาทจะได้รับมรดกอย่างไรผู้สงสัย9 มิถุนายน 2553

    คำถาม
    ทายาทจะได้รับมรดกอย่างไร

    เรียนท่านมีชัย

         เนื่องด้วยว่าตัวเองไม่รู้จะตายเมื่อไหร่ เลยอยากให้คนที่อยู่ได้เงินที่เราเก็บไว้ นำไปใช้ต่อได้แม้จะไม่มากก็ตาม
         จึงเกิดข้อสงสัยว่าเมื่อทำพินัยกรรมด้วยการเขียนด้วยลายมือผู้ทำพินัยกรรม แล้วผู้ทำพินัยกรรมตายลงนั้น
     
    1.ทายาทหรือผู้รับมรดกตามพินัยกรรมจะได้รับมรดกนั้นได้อย่างไร ต้องไปที่ศาลหรือไม่
    2. ถ้าจะไปถอนเงินฝากในธนาคารของผู้ทำพินัยกรรม โดยใช้พินัยกรรม และใบมรณะบัตร ได้หรือไม่
    3. ถ้าผู้ตาย ไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ทายาทต้องทำอย่างไรบ้างถึงจะสามารถนำเงินฝากในธนาคารของผู้ตายออกมาได้
       และถ้าต้องมีค่าธรรมเนียมในการจัดการมรดกนั้น ค่าธรรมเนียมนั้นประมาณเท่าไหร่ เนื่องจากจำนวนเงินฝากในธนาคารมีไม่มาก
    4. ถ้าทำพินัยกรรมด้วยการเขียนด้วยลายมือผู้ทำพินัยกรรม จำเป็นต้องระบุอะไรบ้าง และต้องมีพยานหรือผู้จัดการมรดกหรือไม่

      ขอขอบพระคุณที่ช่วยให้คลายข้อสงสัยมา ณ โอกาสนี้

    คำตอบ

    1.-2. ถ้าเป็นเงินสดที่เก็บอยู่ที่บ้าน ก็ไม่ต้องไปศาล จัดการแบ่งกันไปตามพินัยกรรมได้เลย  แต่ถ้าเป็นอะไรที่ต้องไปโอนทางทะเบียนก็ดี ต้องไปถอนมาจากธนาคารก็ดี  คนที่เขาจะยอมให้โอนให้ถอนนั้นเขาก็ต้องป้องกันตนเองให้แน่ใจว่าคนที่มาโอนหรือถอนนั้นมีอำนาจจริง ไม่ใช่ใครก็ไม่รู้ไปแอบอ้างเอา  เขาจึงมักจะกำหนดว่าให้ไปร้องต่อศาลเพื่อตั้งผู้จัดการมรดก เมื่อได้คำสั่งศาลแล้วเขาก็แน่ใจว่าคนนั้นมีอำนาจโอนหรือถอนเงินได้จริง เป็นการคุ้มครองให้คนตายซึ่งเป็นเจ้ามรดกด้วย

    3. ก็ต้องอย่างเดียวกันกับข้อ 1 เพียงแต่เวลาแบ่ง เขาก็แบ่งกันตามกฎหมาย ไม่ได้แบ่งตามพินัยกรรม

    4. ก็ต้องระบุว่าจะยกอะไรให้ใครเท่าไร ถ้าเป็นพินัยกรรมที่เขียนเองทั้งฉบับ ก็ไม่ต้องมีพยาน  ส่วนผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ากำหนดไว้ก็เป็นการดี เพราะจะได้ไม่เป็นปัญหาถกเถียงกันในระหว่างทายาท


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    9 มิถุนายน 2553