ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    040055 ขอจัดการทรัพย์สินในกองมรดกของน้องชายแทนแม่ประภาพร3 พฤษภาคม 2553

    คำถาม
    ขอจัดการทรัพย์สินในกองมรดกของน้องชายแทนแม่

    เรียน  คุณมีชัย

               ดิฉันมีปัญหาในเรื่องมรดกมาขอคำแนะนำค่ะ  คือดิฉันและสามีแต่งงานและจดทะเบียนสมรส เมื่อ 20 มิ.ย 2544  มีบุตร 2 คน คนโตผู้หญิง อายุ 10 ปี คนเล็กผู้ชายอายุ 6 ปี ต่อมาสามีของดิฉันเสียชีวิตเมื่อ 5 พ.ย 51  ดิฉันก็ได้ยืนขอเป็นผู้จัดการมรดกต่อศาล และศาลก็แต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกเมื่อ 19 มค.53  และคดีก็ถึงที่สุดแล้วเมื่อ 19 กพ.53  (สามีมีพี่น้อง 4 คน  พี่สาว 2 คน น้องสาว 1 คน) สามีมีทายาทคือ แม่สามี ดิฉัน และลูก 2 คน และได้แบ่งส่วนของมรดก (ทรัพย์สินเป็นพันธบัตรรัฐบาลมีอายุไถ่ถอน ปี 2557  เงินสดในธนาคาร และบ้านพร้อมที่ดินที่อยู่ปัจจุบันโดยชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์คนละครึ่งกับพี่สาวคนโต ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นเงินของแม่สามีกับสามีซื้อ แต่แม่สามีเป็นคนต่างด้าวไม่สามารถทำนิติกรรมได้ จึงให้ลูกสาวทำแทน  และเมื่อปี 2547 ได้มีข้อตกลงกันเกี่ยวกับเรื่องบ้านว่าหากแม่สามีเสียชีวิต พี่สาว 2 คน ต้องย้ายออกจากบ้านนี้ และโอนกรรมสิทธิ์ให้สามีเพียงคนเดียว )  แต่ปัญหาอยู่ที่แม่สามีป่วย นอนให้อาหารทางสายยาง พูดไม่ได้ เดินไม่ได้ ดิฉันไปที่แบงค์ชาติเพื่อขอเปลี่ยนชื่อผู้ถือพันธบัตรเป็นชื่อดิฉันและชื่อแม่สามีคนละครึ่ง แต่แบงค์ชาติไม่สามารถใส่ชื่อแม่สามีได้เพราะเจ้าตัวไม่ได้ไปเอง จึงใส่ชื่อดิฉันไว้คนเดียว  ต่อมาพี่สาวสามีมาขอมีชื่อในพันธบัตรนั้นแทนแม่สามีอ้างสิทธิว่าเป็นทายาทของแม่สามีจะขอทำการแทนแม่ตัวเอง และได้มีหนังสือยินยอมของพี่สาวกับน้องสาวมาด้วยว่าในฐานะทายาทของแม่ตัวเอง  ซึ่งดิฉันก็ไม่ทราบว่าทำได้หรือไม่จึงขอคำแนะนำดังนี้                    

          1. ในกรณีนี้พี่สาวสามีขอทำการแทนแม่สามีได้หรือไม่ 

           2. กรณีข้อตกลงเรื่องบ้านนั้นใช้ได้หรือไม่หากแม่สามีเสียชีวิต  ลูกของดิฉันซึ่งเป็นทายาทของสามีมีสิทธิจะบังคับใช้ข้อตกลงนั้นหรือไม่

            3.หากดิฉันจะขอเปลี่ยนชื่อในกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านได้หรือไม่ (แทนสามี) และหากพี่สาวไม่ยอมจะต้องทำอย่างไร เพราะเขาเคยพูดว่าเขาจะโอนต่อเมื่อลูกอายุ 20 ปี ซึ่งดิฉันก็ต้องอยู่บ้านนี้ด้วยความอึดอัด ลำบากใจ เพราะเขาทำเหมือนดิฉันเป็นแค่เพียงผู้อาศัย หรือแม่ของหลานเขาเท่านั้นไม่ได้เกี่ยวดองอะไรกัน

             4. กรณีการเปลี่ยนชื่อในพันธบัตรเป็นชื่อพี่สาว ดิฉันเกรงว่ามันจะกลายเป็นทรัพย์สินของพี่สาว จะไม่เป็นมรดกของแม่สามีต่อไป ซึ่งมีโอกาสที่ลูกของดิฉันจะเสียสิทธิ

               5. กรณีที่แม่ได้มรดกจากลูกชายแล้ว หากต่อมาแม่เสียชีวิตทรัพย์สินส่วนนั้นก็กลายเป็นมรดกของแม่ ซึ่งต้องแบ่งให้ทายาทต่อไป ซึ่งหมายถึงสามีของดิฉันก็ต้องมีส่วนในส่วนแบ่งนั้นด้วย (หรือลูกของดิฉันแทนสามี) ใช่หรือไม่

                6. กรณีจะเปลี่ยนชื่อหากดิฉันจะยืนยันขอเป็นชื่อแม่สามีเท่านั้น ได้หรือไม่ เพราะถึงแม้จะเป็นชื่อดิฉัน พันธบัตรนั้นก็ยังไม่ครบกำหนด ซึ่งดิฉันก็จะขอเก็บไว้จนกว่าครบกำหนดไถ่ถอน  แล้วจึงแบ่งส่วนของแม่สามีให้ ได้หรือไม่ มีความผิดไหม

                  ดิฉันมีคำถามที่ขอคำแนะนำเพียงเท่านี้ก่อน และขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย

                                                               

    คำตอบ

    เรียน คุณประภาพร

    1. ถ้าแม่ไม่ได้ทำหนังสือแต่งตั้งให้เป็นตัวแทน ก็ใส่ชื่อของพี่สาวไม่ได้ เพราะมรดกนั้นเป็นส่วนของแม่ และเมื่อแม่ยังไม่ตาย พี่สาวและน้องสาวในฐานะทายาทก็ยังไม่มีสิทธิอะไร ทรัพย์นั้นเป็นของแม่โดยสมบูรณ์ เมื่อคุณใส่ชื่อคุณไว้แล้ว ก็คอยจำไว้ก็แล้วกันว่าครึ่งหนึ่งเป็นของแม่และคุณถือไว้แทนแม่  หากพันธบัตรถึงกำหนดหรือแม่ตาย ก็ต้องนำครึ่งนั้นไปแบ่งให้ทายาทของแม่ ซึ่งได้แก่ลูกคุณ และพี่สาวและน้องสาวของสามี

    2. ถ้าข้อตกลงนั้นทำไว้เป็นหนังสือและมีข้อความชัดเจนว่าพี่สาวถือกรรมสิทธิแทนแม่ ข้อตกลงนั้นก็ใช้ได้ แต่ถ้าเพียงแต่ตกลงกันด้วยวาจา หรือไม่ได้มีความชัดเจนว่าเป็นการถือกรรมสิทธิแทน ปัญหาอาจเกิดขึ้นในวันข้างหน้าได้ เพราะถ้าเขาโลภ เขาก็คงอ้างเอาว่าเป็นของเขา

    3. ถ้าเขายอมก็ทำได้  แต่ในกรณีที่ยังไม่มีข้อตกลงเป็นหนังสือ และมีทางพูดจากให้เขาทำเป็นหนังสือได้ก็ควรทำไว้เสีย

    4. ใช่แล้ว ดูข้อ 1 ประกอบ

    5. ใช่

    6. ได้


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    3 พฤษภาคม 2553