ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    039386 ถามเรื่องมรดกที่ดินครับjack28 กุมภาพันธ์ 2553

    คำถาม
    ถามเรื่องมรดกที่ดินครับ

    สวัสดีครับ

    มีเรื่องจะรบกวนปรึกษาครับ พ่อผมมีพี่น้องรวมตัวพ่อด้วยทั้งหมด 5 คน แต่พ่อผมเสียชีวิตไปประมาณสิบปีแล้ว  เมื่อปีก่อนปู่ของผมก็เพิ่งเสียชีวิตไป ตอนนี้เหลือแต่ย่าครับ  ปัญหามีอยู่ว่ามีที่ดิน 20 ไร่ แบ่งเป็นสองแปลงไม่ติดกัน แปลงละ 10 ไร่ ยายผมเคยเข้าไปคุยกับย่า เค้าบอกว่าแปลงหนึ่ง 10 ไร่ จะยกให้อาผู้ชายสองคน ส่วนอีกแปลงหนึ่งจะยกให้อาผู้หญิง 2 คน รวมทั้งตัวผม

    แต่ตอนนี้ทราบมาจากปู่อีกคนนึงซึ่งเป็นน้องชายของย่าว่าอาผู้หญิงสองคนเพิ่งไปทำเรื่องออกโฉนดที่ดิน ซึ่งตอนนี้เป็น สค.1 โดยที่ผมไม่ทราบเรื่อง ดังนั้นจึงมีคำถามครับว่า...

    การออกโฉนที่ดินแปลงนั้นแสดงว่าย่าได้ยกที่ให้อาผู้หญิงทั้งสองคนเรียบร้อยแล้วโดยที่ไม่ยกให้ผม ใช่หรือไม่ครับ ย่าของผมท่านไม่ค่อยมีเสียงอะไรในบ้านเท่าไหร่ครับ อาผู้หญิงสองคนเป็นคนคุมแทบทุกอย่างภายในบ้าน  ถ้าหากว่าย่าเปลี่ยนใจที่จะยกให้อาทุกคน ยกเว้นแต่ผม ก็เท่ากับว่าผมทำอะไรไม่ได้เลยใช่หรือไม่ครับ

     

    ขอบคุณมากครับ

    คำตอบ

    ถ้าที่ดินนั้นเป็นสินสมรสของปู่กับย่า  เมื่อปู่ตาย สินสมรสนั้นก็แบ่งครึ่งระหว่างปู่กับย่า ครึ่งของย่าก็เป็นของย่า ๆ จะยกให้ใครก็ได้ ส่วนครึ่งของปู่นั้น ก็แบ่งกันระหว่างย่ากับลูกของปู่ทุกคน ๆ ละเท่า ๆ กัน (ย่าจะได้แบ่ง ๒ หน คือในฐานะสินสมรสหนหนึ่ง และในฐานะผู้รับมรดกอีกหนหนึ่ง)  ส่วนที่เป็นของพ่อคุณ ก็ตกได้แก่คุณและพี่น้อง (หากมี)  


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    28 กุมภาพันธ์ 2553