ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    039266 มีสิทธิ์หรือไม่ (ต่อ)jeejee19 กุมภาพันธ์ 2553

    คำถาม
    มีสิทธิ์หรือไม่ (ต่อ)

    คำตอบของคำถามครั้งที่แล้ว : บ้านเป็นสินสมรส  เมื่อเป็นสินสมรส ทั้งสองฝ่ายจึงมีสิทธิคนละครึ่ง ครึ่งของคุณก็เป็นของคุณ ส่วนครึ่งของเขาก็เป็นของเขา ถ้าเขาตายไปส่วนของเขาเขาก็มีสิทธิยกให้ใครก็ได้ (โดยทำพินัยกรรม) หรือถ้าไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ลูกของเขาทั้งสองคนรวมทั้งคุณด้วย ก็จะมีสิทธิได้รับมรดกในส่วนนั้น

    จากคำตอบครั้งที่แล้ว รบกวนสอบถามต่อนะคะ ที่บอกว่าลูกเก่าของสามีจะมีสิทธิได้รับมรดกในส่วนนั้น หมายถึงว่ากรณีที่สามีเสียชีวิต (สมมุตินะคะ) ลูกของเมียเก่ามีสิทธิที่จะเค้ามาอยู่ในบ้านหลังนี้ หรือจำเป็นต้องขายบ้านเพื่อแบ่งส่วนที่เป็นของเค้าให้ค่ะ

    แล้วถ้าเกิดสามีเสียชีวิตก่อนผ่อนบ้านหมด ซึ่งดิฉันต้องผ่อนบ้านต่อคนเดียว ลูกของเมียเก่ายังมีสิทธิอีกหรอคะ

    คำตอบ

    การที่บอกว่าเขามีสิทธิในทรัพย์สินนั้น ก็แปลว่า ถ้าตีราคาออกมาเท่าไร เขาก็มีสิทธิตามส่วนของเขา เช่นบ้านราคา 200 บาท เมื่อแบ่งคนละครึ่ง ก็เป็นของคุณ 100 ของเขา 100 ส่วนของเขา 100 นั้น ถ้าเขาไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ก็ตกเป็นของคุณ 33.33 บาท ของลูกคุณ 33.33 บาท และของลูกเก่า 33.33 บาท

     ถ้าสามีเสียชีวิตก่อนที่จะผ่อนบ้านหมด ผ่อนไปเท่าไร ก็แบ่งคนละครึ่ง เช่น ผ่อนไปได้ 150 บาท ก็เป็นของคุณ 75 บาท ของเขา 75 บาท เมื่อเขาตายก็ตกเป็นของคุณ 25 บาท ของลูกคุณ 25 บาท และของลูกเก่า 25 บาท รวมแล้วคุณได้ 100 บาท ลูกสองคนได้คนละ 25 บาท หลังจากนั้นคุณก็ต้องผ่อนส่งต่อไปจนครบ


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    19 กุมภาพันธ์ 2553