ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    039126 การให้คำยินยอมไม่ขอรับมรดกที่ดินฤดี9 กุมภาพันธ์ 2553

    คำถาม
    การให้คำยินยอมไม่ขอรับมรดกที่ดิน

    เรียนท่านอาจารย์มีชัย ที่เคารพ

     

    รบกวนสอบถามเกียวกับ ที่ดิน นส3 โดยที่ดินดังกล่าวเป็นของคุณตาที่แบ่งให้ลูก ๆ รวมทั้งคุณแม่ของดิฉันทำกิน ต่อมาครอบครัวเรามีปัญหาการเงินจึงได้ยืมจากป้ามา 20,000 บาทและไม่ได้ทำหนังสือสัญญา โดยแลกกับการให้ป้าเข้ามาทำกินและใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวจนกว่าเราจะมีเงินมาใช้คืน ซึ่งตอนนั้นดิฉันยังเป็นเด็ก ต่อมาเกือบ 10 ปี แม่ได้เสียชีวิตลง ดิฉันพอมีเงินเก็บอยู่บ้างจึงต้องการจะไปไถ่ที่คืน โดยตกลงคืนให้ป้า 60,000 บาท แต่ทางป้าไม่ยอมโดยอ้างว่าได้ลงทุนปรับที่ดินไปหลายแสนบาท ซึ่งดิฉันไม่มีปัญญาไถ่คืนได้  จากนั้นคุณตาได้เสียชีวิตลงโดยไม่ได้แบ่งมรดกดังกล่าว ทางป้าและน้า ๆ ต้องการดำเนินการขอรับมรดกและจัดสรรที่ดินแปลงนี้ โดยให้ดิฉันเซ็นยินยอมไม่ขอรับมรดกแปลงที่เป็นของแม่ เพราะไม่มีเงินไปไถ่คืน (150,000) ดิฉันท้อใจ และไม่มีความรู้ทางกฏหมาย จึงอยากสอบถามผู้รู้ ว่าดิฉันพอจะอ้างสิทธิอย่างอื่นหรือปฏิเสธได้อย่างไรบ้างค่ะ

     

    กราบขอพระคุณที่แนะนำ มา ณ โอกาสนี้ค่ะ

    ฤดี

    คำตอบ

    การกู้ยืมเงินเกินสองพันบาทนั้นถ้าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายผู้กู้เป็นสำคัญ ก็ฟ้องร้องบังคับกันไม่ได้ อย่างไรก็ตามในทางศีลธรรมถ้าคุณจะชำระหนี้แทนแม่ คุณก็มีหน้าที่ชำระเท่าจำนวนที่ยืมไป คือ 20,000บาท และบวกดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีไม่เกิน ๕ ปี (เกินห้าปีเรียกไม่ได้)  การที่ป้าอ้างว่าได้ลงทุนในที่ดินไปมาก เขาก็ได้รับประโยชน์จากการใช้ที่ดินนั้นไปแล้วในระหว่างที่ครอบครองอยู่ เขาจึงไม่มีสิทธิมาเรียกส่วนนั้นเอาจากคุณ  คุณจึงไม่ควรสละมรดกนั้น และตามทวงสิทธิของคุณคืนมา


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    9 กุมภาพันธ์ 2553