ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    039034 สิทธิในการรับผลประโยชน์(ต่อ)แม่บ้านมือใหม่3 กุมภาพันธ์ 2553

    คำถาม
    สิทธิในการรับผลประโยชน์(ต่อ)

    สวัสดีค่ะ คุณมีชัยที่เคารพ

    คำถามคราวก่อนได้รับการตอบจากคุณมีชัยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  ต้องขอขอบคุณมากค่ะ คราวนี้มีเรื่องจะรบกวนเรียนถามต่ออีกสักหน่อยค่ะ

    1.ถ้าเรากู้ซื้อบ้านร่วมโดยที่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน  แล้วเกิดสามีเสียชีวิต ผู้มีสิทธิจัดการเรื่องบ้านต่อ  จะเป็นดิฉันแต่เพียงผู้เดียว หรือต้องจัดการร่วมกับ พ่อแม่ พี่น้องของสามีในฐานะที่เค้าเป็นทายาทของสามีคะ

    2.จากข้อที่1.ถ้าเกิดเรามีลูกด้วยกันโดยที่สามีจดทะเบียนรับรองบุตรตามกฎหมาย แต่เรายังไม่จดทะเบียนสมรสกัน ใครจะเป็นผู้มีสิทธิจัดการเรื่องบ้านต่อคะ ระหว่าง 1)ดิฉันและลูกและพ่อแม่พี่น้องของสามี 2)ดิฉันและลูก  3)ลูกคนเดียวเท่านั้น

    3.และถ้าเราจดทะเบียนสมรสกันเรียบร้อยแล้วค่อยไปยื่นกู้ ใครจะเป็นผู้มีสิทธิจัดการต่อคะ  ดิฉันแต่เพียงผู้เดียว  หรือพ่อแม่ พี่น้องของสามีก็ยังคงมีสิทธิอยู่คะ

    ขอบพระคุณคุณมีชัยมากค่ะ ที่กรุณาสละเวลาช่วยตอบคำถาม

     

    คำตอบ

    1. การจัดการเรื่องบ้านมีสองส่วน คือส่วนที่ต้องชำระหนี้ต่อไป กับส่วนที่จะได้กรรมสิทธิ  ในส่วนแรกนั้นเมื่อคุณกู้ร่วมกับสามี ก็ตกเป็นหน้าที่ของคุณที่จะต้องชำระหนี้นั้นต่อไป  แต่ในส่วนที่จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในฐานะรับมรดกนั้น ถ้าคุณสามารถแยกส่วนที่เป็นของคุณในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนกัน ส่วนที่แยกมาก็เป็นของคุณ แต่ส่วนของเขา ก็ตกเป็นมรดกได้แก่พ่อแม่ของเขา

    2. ส่วนที่จะต้องชำระหนี้ก็ยังเป็นของคุณ แต่ส่วนการได้กรรมสิทธิในส่วนที่เป็นมรดกของเขานั้นจะได้แก่บุตรของคุณกับพ่อแม่

    ของเขา

    3. ในเรื่องการชำระหนี้ต่อไปก็ยังเป็นของคุณ แต่ทรัพย์นั้นจะเป็นสินสมรส เมื่อเขาตาย สินสมรสจะแยกจากกัน เป็นของคุณครึ่งหนึ่ง เป็นของเขาครึ่งหนึ่ง  ส่วนที่เป็นของเขาก็จะตกได้แก่คุณ บุตร และพ่อแม่ของเขา คนละส่วนเท่า ๆ กัน


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    3 กุมภาพันธ์ 2553