ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    038557 ปรึกษาเรื่องอุทธรณ์หัวอกแม่30 ธันวาคม 2552

    คำถาม
    ปรึกษาเรื่องอุทธรณ์

    เดิมนาย ก เมื่อประมาณเดือน สิงหาคมที่ผ่านมา มีคดีครอบครองยาเสพติดฯ (คดีแดง) ที่ตัดสินแล้วโดนปรับ 20,000 บาท โทษจำคุกรอลงอาญา 1 ปี อยู่ แล้วเมื่อประมาณเดือน พฤศจิกายน นี้ เกิดไปทำความผิดคดีลักทรัพย์ (เสื้อผ้าราคาประมาณ 1,600 บาท แต่มี 3 เจ้าของก็เลยคิดเป็นกระทง รวม 3 กระทง) พิพากษาแล้วโทษประมาณ 3 ปีกว่า แต่รับสารภาพลดให้ครึ่งหนึ่ง เหลือโทษจำคุก 2 ปี แล้วเพิ่มโทษคดีแดงที่รอลงอาญาไว้ 1 ปี รวมแล้วโดนตัดสินโทษจำคุก 2 ปี 15 เดือน ตอนนี้ นายประกัน (ที่เราเช่าหลักทรัพย์ตอนประกันตัวคดีลักทรัพย์ ก่อนพิพากษา) แนะนำให้ประกันตัวในระหว่างที่ขอยื่นอุทธรณ์เพื่อขอลดโทษ หรือขอแค่รอลงอาญาไม่ต้องโดนจำคุก อยากทราบว่า ในคดีลักษณะนี้คิดว่าน่าจะสามารถขออุทธรณ์ลดโทษหรือขอไม่ต้องจำคุกเป็นรอลงอาญาอย่างเดียวได้หรือไม่ เพราะเราจะต้องเช่าหลักทรัพย์นายประกันต่ออีก 20,000 และจะต้องเสียตังเพื่อหาทนายมาทำเรื่องอุทธรณ์ให้อีก 10,000 บาท อยากทราบว่าน่าจะทำอย่างไรดี..รบกวนขอคำปรึกษา..

    คำตอบ

    การอุทธรณ์น่ะมีสิทธิทำได้ แต่การจะลดโทษให้อีกหรือไม่และจะรอลงอาญาหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล จึงไม่มีหลักประกันว่าเมื่ออุทธรณ์แล้วจะต้องได้อย่างที่เราต้องการ  แต่คนเรานั้นแม้ความหวั้งาจะเหลือน้อย ก็มักจะต้องดิ้นรนไปจนถึงที่สุด ถ้ามีฐานะเพียงพอไม่เดือดร้อนมากนักก็ไม่เสียหายอะไรที่จะอุทธรณ์


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    30 ธันวาคม 2552