ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    038440 พินัยกรรมหญิงเดียวหญิงเดี่ยว20 ธันวาคม 2552

    คำถาม
    พินัยกรรมหญิงเดียว
    ดิฉันปรึกษาคุณอาเรื่องพินัยกรรมกล่าวคืน คุณลุงเสียชีวิตไม่ได้แต่งงานมีแต่หลานก่อนจะเสียชีวิตก็ได้เข้าๆๆออกๆๆโรงพยาบาลประจำจนถึงครั้งสุดท้ายได้เข้าโรงพยาบาลเมื่อ 15-9-52อยู่ในโรงพยาบาลจึงได้เสียชีวิตในวันที่ 22-9-52 ปรากฏว่ามีคนมาแจ้งว่าน้องชาย ได้เอาพินัยกรรมไปทำการโอนที่ดินขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ ดิฉันได้ทราบข่าวได้ไปเช็ดข่าวปรากฏเป็นจริง จึงทำเรื่องขอดูเอกสารปรากฏว่าเอกสารของพินัยกรรมได้เขียนลงวันที่ 10-9-52 ดิฉันขอทำเรื่องการคัดค้านว่าพินัยกรรมไม่สมบูรณ์เนื่องจากตรวจสอบปรากฏว่า 1 ในพยานคือเมียของน้องชายเซ็นเป็นพยาน(น้องชายเป็นผู้รับมรดก) แต่ทางเจ้าหน้าที่บอกว่าสมบูรณ์ถูกต้องตามกฏหมาย ทำให้ดิฉันสับสนในข้อกฏหมายที่ว่า ผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้ 1 ในข้อห้าม คือ คู่สมรสของพยานในพินัยกรรม "ข้อห้ามดังกล่าวปรากฏในมาตรา 1653" แต่ทำไมเจ้าหน้าที่บอกว่าพินัยกรรมนี้สมบูรณ์ หรือ ว่าเจ้าหน้าที่สับสน
    คำตอบ

    ถ้าในพินัยกรรมนั้นมีพยานอยู่มากกว่า ๒ คน หากเสียไปคนหนึ่งพินัยกรรมนั้นก็ยังอาจใช้ได้  จึงควรดูพินัยกรรมให้ดี ถ้าเขาไม่มีคนอื่นเป็นพยานอีก การที่ภรรยาของผู้รับพินัยกรรมเป็นพยานก็ใช้ไม่ได้ (เว้นแต่ภรรยาของเขาจะไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน)  ถ้าศึกษาแล้วว่าพินัยกรรมนั้นใช้ไม่ได้ คุณก็ควรรีบฟ้องเสีย


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    20 ธันวาคม 2552