ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    038345 หนี้ และมรดกที่ไม่ได้ทำพินัยกรรมอรรถพล11 ธันวาคม 2552

    คำถาม
    หนี้ และมรดกที่ไม่ได้ทำพินัยกรรม

    ขอรบกวนเรียนถามอาจารย์ดังนี้ครับ

    มารดาของผมเสียชีวิตมาแล้ว 1 สัปดาห์ และพบว่ามีหนี้กับเจ้าหนี้ประมาณ 300,000 บาท

        มารดามีชื่อเป็นเจ้าบ้านที่อาศัยอยู่ แต่มีชื่อผมเป็นผู้กู้กับธนาคาร ซึ่งส่งค่าบ้านมาตลอด แต่ยังมียอดติดธนาคารอยู่ประมาณ 990,000 บาท (มูลค่าบ้านประมาณ 1,100,000 บาท)
     
    ขอเรียนถาม
        1.กรณีนี้บ้านที่ยังติดธนาคารอยู่ถือเป็นมรดกหรือไม่ครับ (แม่มีชื่อเป็นเจ้าบ้าน แต่มีชื่อเราเป็นผู้กู้)
        2.เจ้าหนี้สามารถมายึดบ้านนี้ได้หรือไม่ครับ
        3.ถ้าเราส่งบ้านต่อไปเรื่อยๆ แล้วทำอย่างไรบ้านถึงจะได้ชื่อว่าเป็นของเราครับ
        4.ถ้าเราอยากจะขายบ้านต่อ ต้องไปร้องต่อศาลเพื่อให้เราได้เป็นเจ้าบ้านหรือไม่ครับ
     
    ขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงครับ
    คำตอบ

    1. การเป็นเจ้าบ้าน ไม่ได้แปลว่าเป็นเจ้าของบ้านเสมอไป คนที่เช่าบ้านเขาอยู่ก็เป็นเจ้าบ้านได้  คำว่าเจ้าบ้านมีความหมายเพียงเป็นหัวหน้าครอบครัวเท่านั้น ไม่ได้เกี่ยวกับกรรมสิทธิในบ้านนั้น  ถ้าบ้านนั้นคุณเป็นคนซื้อ ก็น่าเชื่อว่าบ้านนั้นจะเป็นของคุณไม่ใช่ของมารดา

    2. ถ้าบ้านนั้นเป็นของคุณเจ้าหนี้ของมารดาก็มายึดไปไม่ได้

    3. ก็ถ้าคุณเป็นคนทำสัญญาซื้อบ้านนั้น คุณก็เป็นเจ้าของบ้านอยู่แล้ว

    4. ดูข้อ ๓


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    11 ธันวาคม 2552