ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    038006 เรื่องพินัยกรรมน้องพี17 พฤศจิกายน 2552

    คำถาม
    เรื่องพินัยกรรม

    เรื่องมันเกิดขึ้นกับญาติของหนู คือว่าลุงของหนูสมมุติชื่อลุง เอ มีบุตรสองคน คือนายหนึ่งกับนายสอง ลุงเอทำพินัยกรรม มีใจความว่า ข้าพเจ้า นาย เอ ขอทำพินัยกรรม ดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ถ้าข้าพเจ้าถึงแก่ความตายไปแล้ว บรรดาทรัพย์สินของข้าพเจ้าที่มีอยู่และที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า ข้าพเจ้ายอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่พวกที่ระบุไว้ในพินัยกรรมนี้ ให้เป็นผู้รับทรัพย์สินตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้ดังต่อไปนี้ 1. ที่ดินโฉนดเลขที่ 1 กับ โฉนดเลขที่ 2 ขอยกให้กับบุตร คือ นาย หนึ่ง ทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว

     แต่ปรากฎว่าก่อนที่ลุงเอจะเสียชีวิตได้รับโอนมรดกคือที่ดินโฉนดเลขที่ 3 มาหนึ่งแปลงจากแม่เเละได้โอนใส่ชื่อเป็นของลุงเอเรียบร้อยแล้ว ถามว่าที่ดินเลขที่ 3 นี้จะอยู่ในความหมายของพินัยกรรมคำว่าบรรดาทรัพย์สินที่มีอยู่เเละที่จะเกิดในภายหน้าหรือไม่ และที่ดินแปลงเลขที่ 3 นี้จะตกเป็นมรดกซึ่งนายสองมีส่วนได้ด้วยหรือไม่ หรือตกเป็นของนายหนึ่งตามพินัยกรรมเพียงคนเดียว ขอรบกวนช่วยตอบหนูด้วยนะค่ะ ขอขอบพระคุณค่ะ

    คำตอบ

    แม้ในพินัยกรรมจะกล่าวถึงทรัพย์สินที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า  แต่ตอนท้าย กลับระบุว่า "ให้เป็นกรรมสิทธิแก่พวกที่ระบุไว้ในพินัยกรรมนี้ ให้เป็นผู้รับทรัพย์สินตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้ดังต่อไปนี้" เป็นการระบุทรัพย์สินชัดเจน โดยไม่ระบุถึง ที่ดินแปลงเลขที่ ๓  จึงต้องถือว่าสำหรับที่ดินแปลงเลขที่ ๓ ไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้  จึงเป็นมรดกตกทอดได้แก่ นายหนึ่ง และนายสอง คนละเท่า ๆ กัน


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    17 พฤศจิกายน 2552