ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    037888 ทรัพย์มรดกพิมพ์10 พฤศจิกายน 2552

    คำถาม
    ทรัพย์มรดก

    เรียนท่านอาจารย์มีชัย

    ดิฉันมีเรื่อรบกวนอยากปรึกษาข้อกฏหมายเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์มรกดกที่เป็นที่ดินค่ะ

    ท้าวความ

    โฉนดที่ดินเป็นชื่อของปู่+ย่าร่วมกัน  คุณปู่คุณย่ามีบุตรธิดา 3 คน ได้ทำการสมรสแล้วทั้งสิ้น ครอบครัวคุณป้าไม่มีบุตร ครอบครัวคุณอามีบุตร 1 คนซึ่งได้แต่งงานกับชาวต่างชาติและอยู่กินที่ต่างประเทศ (แต่ยังมีชื่อในทะเบียนบ้าน) ส่วนครอบครัวคุณพ่อมีบุตร 3 คน คุณปู่ได้ตายไป หลังจากนั้นคุณพ่อดิฉันได้ตาย ก่อนคุณย่าเสีย โดยไม่มีพินัยกรรมใดๆ และขณะนี้คุณป้าเป็นผู้จัดการมรดกอยู่

    จึงมีข้อประเด็นสงสัยเกี่ยวกับทรัพย์มรดกนี้

    1. ทรัพย์มรดกที่ดินนี้ จะตกทอดแก่ใครบ้าง (เนื่องจากมารดาดิฉันมีข้อสงสัยว่าทำไมไม่มีชื่อของมารดาด้วย ดิฉันจะได้อธิบายคุณแม่ได้อย่างถูกต้องค่ะ)

    2. คุณอาดิฉันมีความต้องการใช้เงินและต้องการจะขายทรัพย์มรดกนี้ ต้องกระทำอย่างไรบ้าง และต้องมีเรื่องภาษีที่ดิน ภาษีมรดกมาเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ค่ะ

    อยากรบกวนปรึกษาท่านอาจารย์ด่วนค่ะ เพราะคุณอาต้องการที่จะขายเหลือเกิน ซึ่งทางพี่น้องดิฉันไม่ได้เดือดร้อนเรื่องเงินใดๆ โดนคุณอาและนายหน้าโทรมาเร่งเหลือเกิน

    ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

    พิมพ์

    คำตอบ

    เรียน คุณพิมพ์

      1. เมื่อปู่ตาย ทรัพย์สินของปู่กับย่าที่เป็นสินสมรสจะถูกแบ่งครึ่ง ๆ หนึ่งเป็นของปู่ อีกครึ่งหนึ่งเป็นของย่า ครึ่งที่เป็นของปู่จะตกได้แก่ ย่า+ลูกทั้งสามคน แบ่งคนละเท่า ๆ กัน ลูกคนไหนตายไปก่อนส่วนของลูกคนนั้นก็จะตกได้แก่ลูกของลูกคนนั้น (ไม่ตกได้แก่ภรรยา) เมื่อย่าตาย ส่วนของย่าที่ได้รับแบ่งครึ่งกับอีกหนึ่งส่วนที่เป็นมรดกตกมาจากปู่ ก็จะตกได้แก่ลูกทั้งสามคน ๆ ละเท่า ๆกัน ลูกคนไหนตายไปก่อน ส่วนของลูกคนนั้นก็จะตกได้แก่ลูกของลูก (ไม่ตกได้แก่ภรรยา)

    2. ถ้าจะขายก็ขายได้ แล้วนำเงินที่ได้มาแบ่งกันตามข้อ 1 ภาษีไม่ต้องเสียแต่ต้องเสียค่าธรรมเนียม


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    10 พฤศจิกายน 2552