ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    013483 ปัญหามรดกธีรวัฒน์21 มีนาคม 2548

    คำถาม
    ปัญหามรดก

    เรียน อาจารย์มีชัยที่เคารพ

    ผมข้องใจเกี่ยวกับมรดก (ที่ดิน) ของแม่ หลังจากก๋งเสียได้มีการแบ่งมรดกประเภทที่ดิน เมื่อปี 2526 โดยมีพี่คนโตเป็นคนจัดสรรตามที่ก๋งสั่งความไว้ (ไม่ได้ทำเป็นพินัยกรรม) พี่คนโตได้จัดสรรที่ดินให้ตามที่ก๋งสั่งความไว้ทุกประการโดยไม่มีผู้ใดคัดค้าน (เป็นการแบ่งให้โดยไม่มีหลักฐานเป็นเอกสารและไม่ได้มีการเอกสารแสดงหลักฐานการครอบครอง บัดนี้ที่ดินที่แม่ครอบครองยังเป็นชื่อของก๋งอยู่) และเมื่อ 3-4 ปีที่แล้วป้า (พี่สาวของแม่) ได้มาขอแบ่งที่ดิน ด้วยเหตุผลว่าเขามีที่ดินน้อยกว่าแม่ และแม่ก็ได้แบ่งให้บางส่วนโดยมีการรังวัดที่ดินใหม่และได้จัดทำเป็นโฉนดเรียบร้อยแล้ว โดยมีทั้งชื่อแม่และป้า และในโฉนดได้มีการขีดแบ่งที่ดินไว้เป็นสองส่วน คือ ส่วนที่หนึ่งด้านหน้า (ติดถนน) เป็นของป้า และหลังเป็นของแม่ โดยไม่มีถนนทางเข้า (ทั้ง ๆ ที่ที่ดินผืนนี้เป็นของแม่) จนกระทั่งต้นเดือนมีนาคมปีนี้ พี่คนโตได้ไปพูดกับป้าให้มีการแบ่งโฉนดเพื่อให้เป็นสองโฉนด เพื่อให้แม่ได้สร้างบ้านหลังใหม่ โดยแบ่งให้เท่า ๆ กันทั้งสองฝ่ายมีด้านหน้าติดถนนเหมือนกัน เพื่อความสะดวกในการเข้าออก (อนึ่ง ที่ดินแปลงนี้มีบ้านปลูกอยู่หนึ่งหลังซึ่งเป็นบ้านที่ก๋งเคยอยู่และพี่คนโตได้ยกให้แม่พร้อมกับที่ดิน)  จากความดังกล่าวผมมีข้อซักถามดังนี้ครับ
    1. สงสัยว่าการจัดสรรมรดกดังกล่าว (หลังจากก๋งเสีย) แม่เป็นมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีเอกสารหลักฐาน และเอกสิทธิ์ต่าง ๆ ยังเป็นชื่อก๋ง แต่แม่เป็นผู้เสียภาษีที่ดินมาตั้งแต่มีการจัดสรร (มีหลักฐานการเสียภาษี) และพี่น้องทุกคนก็รู้ว่าเป็นที่ของแม่ รวมทั้งชาวบ้านที่อยู่รอบข้าง
    2. ครั้งแรกที่มีการตกลงกันระหว่างแม่กับป้าว่าแม่ได้ที่ดินด้านหลัง โดยไม่ได้ตกลงกันเรื่องทางเข้า แม่ได้ถมที่ดินส่วนของแม่เนื่องจากมีน้ำท่วมเวลาฝนตก โดยถมเต็มทั้งบริเวณ ผมสงสัยว่าถ้ามีแบ่งแยกเป็น 2 โฉนดตามข้อความข้างต้น แม่มีสิทธิ์เรียกเงินค่าที่ดินจากป้าได้หรือไม่ (ปัจจุบันแม่กับป้าไม่ได้พูดกันแล้ว เนื่องจากแม่มองว่าป้าเป็นพี่ที่ไม่มีสัจจะ/ผิดสัญญา ก่อกวนขอแบ่ง (แย่ง) ที่ดินจากแม่หลายที่) หรือมีสิทธิ์ในดินที่ซื้อมาถมหรือไม่เมื่อมีการแบ่งโฉนดกันแล้ว
    3. เมื่อมีแบ่งโฉนดเป็น 2 โฉนดเรียบร้อยแล้ว แม่จะสร้างบ้านใหม่ โดยอาศัยบ้านซึ่งมีอยู่เดิมบนที่ดินนี้ไปพราง ๆ จนกว่าบ้านจะเสร็จได้หรือไม่ เนื่องจากบ้านหลังนี้อยู่กึ่งกลางระหว่างส่วนของแม่และส่วนของป้า และในกรณีที่ได้แบ่งแยกกันเสร็จแล้ว ป้าสั่งให้แม่รื้อถอนบ้านทันทีในส่วนที่อยู่ส่วนของป้า แม่มีสิทธิ์ฟ้องเรียกร้องสิทธิ์เอาที่ดินส่วนดังกล่าวคืนจากป้าได้หรือไม่ใน "ฐานเนรคุณ"
    4. จากข้อ 3 ตอนนี้ป้ายังมาขอแบ่งที่ดิน (ที่นา) ที่เป็นส่วนของแม่อีก และปัจจุบันเอกสารสิทธิ์ยังเป็นชื่อก๋งยังไม่เปลี่ยนเป็นชื่อแม่ ถ้าเป็นเช่นนี้แม่มีสิทธิ์ฟ้องเรียกเอาที่ดินที่แม่แบ่งให้ตามที่กล่าวมากลับคืนใน "ฐานเนรคุณ" ได้หรือไม่ (ไม่เข้าใจว่าคำว่าเนรคุณรวมถึงคำว่ารังควานเอาที่ดินคนอื่นอย่างไม่รู้จักพอและไม่รู้จักจบสิ้นด้วยหรือไม่)
    ขอขอบคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้

    คำตอบ

    เรียน คุณธีรวัฒน์

        1.  การแบ่งเช่นนั้นจะชอบหรือไม่ชอบเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่เมื่อทุกฝ่ายยอมรับ ก็ต้องเป็นไปตามนั้น ส่วนการโอนโฉนดนั้น เมื่อไม่ได้มีการโอน จึงต้องอาศัยการครอบครองปรปักษ์เป็นหลัก เมื่อครอบครองมาเกิน ๑๐ ปี แล้วย่อมได้กรรมสิทธิโดยการครอบครองปรปักษ์

        2. เมื่อมีการยกที่ดินให้พี่สาว และส่งมอบที่ดินไปแล้ว การยกให้นั้นแม้จะยังไม่ได้จดทะเบียน แต่เมื่อได้มีการครอบครองมาเป็นเวลาเกิน ๑๐ ปี ก็เข้าหลักเดียวกันกับข้อ ๑

         3. ถ้ามีการตกลงกันใหม่ และแบ่งแยกโฉนดกันใหม่ก็ย่อมทำได้ ส่วนการจะฟ้องฐานเนรคุณนั้น กรณียังไม่เข้าข่าย

         4. คนที่อยากได้ เขาก็มาขออยู่ร่ำไปแหละ เมื่อเราไม่อยากให้ก็อย่าไปให้ ไม่เกี่ยวกับการเนรคุณ

         เรื่องที่ถามมาอ่านแล้วไม่ค่้อยเข้าใจนัก ก็ตอบไปเท่าที่จะเดาเอาได้


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    21 มีนาคม 2548