ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    052227 เรียนถามท่านอาจารย์เรื่อง พรบ.ทางหลวง2535ผู้สัญจรทาง11 พฤศจิกายน 2559

    คำถาม
    เรียนถามท่านอาจารย์เรื่อง พรบ.ทางหลวง2535
    ตามประเด็นที่เป็นกระแสในปัจจุบันขอเรียนถามอาจารย์ครับ ขออนุญาตลอกข้อความที่สงสัยมาดังนี้
    การตีความกฎหมายอาญานั้น มีหลักเกณฑ์แตกต่างไปจากการตีความกฎหมายแพ่งจึงจำเป็นต้องพิจารณาดังต่อไปนี้:
    "โดยที่กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่กำหนดความผิดและวางโทษไว้ และการลงโทษทางอาญาเป็นการตัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลและสร้างความทุกข์ทรมานให้ผู้ต้องรับโทษอาญาโดยแท้" การตีความกฎหมายที่มีโทษทางอาญา จึงแตกต่างไปจากการตีความกฎหมายอื่น กล่าวคือ ต้องตีความโดยเคร่งครัดตามตัวอักษรในบทกฎหมายเท่านั้น เมื่อ"ผู้ใด"หมายความรวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ในความหมายของคำว่า"ผู้ใด"แล้ว และมาตรา38บัญญัติไว้ว่าเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก ผู้อำนวยการทางหลวงแล้วก็ย่อมต้องเป็นไปตามนั้นเพราะมาตรานี้มีโทษทางอาญา และเพราะหากจะมีการยกเว้นจริงๆเพื่อจะให้กระทำการใดๆก็ได้แล้วคงจะได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วเนื่องจากข้อหารือคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ได้อ้างถึงนั้นเกิดขึ้นก่อนจะบังคับใช้ พรบ.ทางหลวง พ.ศ.2535
    พรบ.ทางหลวง2535นั้นเจตนารมณ์ที่แท้จริงนั้น ต้องการให้ผู้ที่สัญจรบนทางหลวงได้รับความสะดวกปลอดภัย ดังนั้นการที่"ผู้ใด"จะตั้งวางสิ่งของหรือกระทำการใดๆอันเป็นการทำให้การสัญจรนั้นมีอุปสรรค และอาจจะเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้จึงต้องคำนึงถึงระยะการมองเห็น จุดที่เป็นทางร่วม,ทางแยก หรือโค้งต่างๆ หรือช่วงเวลาที่มีการสัญจรหนาแน่นเช่นเวลาไปโรงเรียนของนักเรียนนักศึกษา เวลาไปทำงานและเลิกงานของประชาชนทั่วไป หรือช่วงเทศกาลหรือวันหยุดต่างๆจึงต้องให้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านงานทางอนุญาตจุดและเวลาที่สามารถกระทำได้หรือไม่ได้รวมทั้งต้องมีสิ่งอำนวยความปลอดภัยต่างๆที่ต้องให้จุดสังเกตุเช่นสัญญานไฟกระพริบ หรือป้ายเตือนต่างๆครับ
    แต่หากเป็นกรณีจำเป็นเช่น มีผู้ร้ายหลบหนีมาตามเส้นทางจำเป็นต้องตั้งจุดสกัด หรือมีการข่าวรายงานการขนอาุธหรือยาเสพติดมา(ซึ่งคงไม่บ่อยนัก)อันนี้เป็นอันเข้าใจได้ว่าไม่จำเป็นต้องขออนุญาตก่อนเพราะหากเนิ่นช้าไปอาจจะทำให้ไม่สามารถจับกุมผู้ที่กระทำความผิดอาญาร้ายแรงได้
      ตามข้อความดังกล่าวนั้นถูกผิดเป็นประการใดครับ  

    คำตอบ
    แหม ไปเอาข้อความของใครมาถามว่าถูกหรือผิด ตอบไปก็ถูกเจ้าของข้อเขียนเขาเล่นงานเอาตายสิ
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    11 พฤศจิกายน 2559