ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    051470 ขอพิจารณาแก้ไขกฏหมายฯและร่างสัญญามาตรฐานมาบังคบใช้พีระพันธ์14 ธันวาคม 2558

    คำถาม
    ขอพิจารณาแก้ไขกฏหมายฯและร่างสัญญามาตรฐานมาบังคบใช้
    ผมขอเรียนหารือว่า  จะเป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีการปรับปรุงกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับนิติบุคคลอาคารชุดและนิติบุคคลบ้านจัดสรรทั้งระบบ  และให้ใช้สัญญามาตรฐานมาใช้ในการปฎิบัติ    เพราะปัจจุบันมีปัญหามากอันเนื่องมาจาก
    ๑.เจ้าของโครงขาดความรับผิดต่อลูกบ้านที่ได้รับโอนอสังหาฯไปแล้วและยังมีส่วนเข้ามามีอำนาจคอบงำในการบริหารจัดการกับนิติบุคคลฯนั้นๆ(หน้าที่ และความรับผิดชอบ)
    ๒.ลูกบ้านบางส่วนขาดความรับผิดชอบการชำระค่าส่วนกลาง  ส่งผลให้สถานะการๆเงินของบางนิติบุคคลฯขาดสภาพคล่อง ไม่มีเงินมาใช้ในการบำรุงรักษาส่วนกลาง
    ๓.หน้าที่ ความรับผิดชอบ การตรวจสอบความถูกต้องในการดำเนินงาน  และการถูกประเมินผลงานตามเกณฑ์มาตรฐานของผู้ที่มารับจ้างในการบริหารนิติบุคคลฯ
    ๔.หน้าที่และความรับผิดชอบของกรมที่ดินและ สคบ ในการกำกับ ตรวจสอบและกำหนดบทลงโทษที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักเกณฑ์การคำนวญเงินค่าใช้จ่ายหลักๆส่วนกลางและค่าจ้างบริหารจัดต้องไม่เกินจำนวนเท่าไรของจำนวนเงินทั้งหมด(โดยเจ้าของโครงการจะต้องแสดงแนบท้ายสัญญาและมีผลบังคับใช้อย่างน้อย ๕ปีและจะมีการปรับปรุงใหม่ได้ทุกๆ ๕ ปี)   ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆเพิ่มเติมที่เป็นวงเงินจำนวนมากและ/หรือมีผลกระทบกับเจ้าของร่วมจำนวนมาก  จะต้องได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมมากกว่ากึ่งหนึ่งเท่านั้น  เช่น การปรับเพิ่มการเรียกเก็บเงินส่วนกลาง   การนำเงินจากกองทุนกองกลางมาใช้ก่อนได้รับการอนุมัติ... .......
    คำตอบ
    ไม่ว่าจะแก้ไขอย่างไร ถ้าตราบใดที่เจ้าของร่วมไม่รับรู้ว่าทั้งหมดเป็นผลประโยชน์ของทุกคนร่วมกัน และทุกคนจะต้องไปคอยรักษาสิทธิของตนอย่างเคร่งครัด  ก็จะเป็นอยู่อย่างนี้ตลอดไป  ที่คนส่วนใหญ่เรียกร้องสิทธิต่าง ๆ ในระดับประเทศน่ะ  ก็เรียกกันไปตามแฟชั่นเท่านั้น เมื่อได้สิทธิแล้วก็หาได้รักษาหรือคุ้มครองสิทธิของตนไม่ ปล่อยให้คนอื่นไปใช้จนเกิดความเดือดร้อน  อย่างที่เป็นอยู่ในคอนโดนั่นแหละ  คอนโดก็คือตัวจำลองของประเทศนั่นเอง 
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    14 ธันวาคม 2558