ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    050540 เจ้าหนี้บริษัท(ผู้ถือหุ้น) เสียชีวิตผู้ถามต่อ6 มีนาคม 2558

    คำถาม
    เจ้าหนี้บริษัท(ผู้ถือหุ้น) เสียชีวิต

    เรียน  อาจารย์มีชัย ที่นับถือ

    สืบเนื่องจาก คำถาม-คำตอบที่ 046683 กรณีที่เจ้าหนี้ของบริษัทจำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการของบริษัทนั้น ตกลงยอมรับการโอนที่ดินของบริษัทแทนการชำระหนี้เงินนั้น สามารถทำได้../

    กระผมขอกราบเรียนสอบถาม เพิ่มเติม  ดังนี้

    1. หากเจ้าหนี้ของบริษัทซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการของบริษัท ได้เสียชีวิตลงแล้ว     บริษัทฯ สามารถทำข้อตกลงหรือสัญญากับทายาทของเจ้าหนี้ เพื่อชำระหนี้ที่บริษัทได้ยืมเงินกรรมการไป โดยการโอนที่ดินของบริษัทแทนการชำระหนี้เงิน  ซึ่งทายาทตกลงยอมรับการชำระหนี้ดังกล่าวด้วย ...   บริษัทสามารถดำเนินการได้หรือไม่...?

    2. กรณีที่ ผู้จัดการมรดก  และ  ทายาทของเจ้าหนี้ เป็นผู้ถือหุ้น และเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามบริษัทด้วยนั้น    ต้องดำเนินการจดทะเบียนบริษัท เพื่อยกเลิกการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามบริษัท ของผู้จัดการมรดก และ บุคคลซึี่งเป็นทายาท ก่อนหรือไม่  ?

    ขอแสดงความนับถือ

    ผู้ถามต่อ  

    คำตอบ

    ๑. ถ้าทายาทนั้นเป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกส่วนนั้น ก็ย่อมทำได้ แต่ถ้ามรดกยังไม่ได้แบ่ง ก็ควรทำสัญญากับผู้จัดการมรดกจะปลอดภัยกว่า  แต่ถ้าเป็นบริษัทมหาชน ก็ต้องไปดูขั้นตอนของตลาดหลักทรัพย์และ กลต. ว่าจะต้องทำอย่างไรด้วย

    ๒. ถ้าเป็นอย่างนั้นก็จะมีลักษณะผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งต้องห้ามไม่ให้ทำ ทางที่ดีจึงควรเสนอที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเพื่อให้มีมติ จะปลอดภัยกว่า

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    6 มีนาคม 2558