ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    050498 หุ้นลมลูกคนแรก21 กุมภาพันธ์ 2558

    คำถาม
    หุ้นลม

    เรียน อ.มีชัย

              ผมขอรบกวนถามครับ  คุณพ่อเสีย และได้สั่งให้กิจการในครอบครัวจดเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด

    โดยทั้งภรรยาใหม่ (จดทะเบียนฯ) และลูกๆ (ทั้งลูกเก่าและลูกใหม่) ให้ทุนจดทะเบียนเท่ากัน

    คือ คนละ 5 แสน รวมหุ้น หจก.ที่จดทะเบียนทั้งหมด 5 คนครับ

              กิจการบริหารโดยเมียและลูกใหม่ ซึ่งเขาตั้งเงินเดือนและโบนัสกันเอง  ปลายปีเขาก็ปันผลให้ผม

    แบบ “ตามใจชอบ” ผมเคยถามเรื่องบัญชีรายรับ-รายจ่าย เขาบอกไม่เคยทำ เพราะเป็นกิจการเล็กๆ

    ควักกระเป๋าซ้าย-จ่ายกระเป๋าขวาประมาณนั้น  ไม่ได้แยกเงินส่วนตัว หรือเงินในกิจการ

              ปีแรกเขาแบ่งให้ผม 8 หมื่น ปีต่อๆมาลดลงเรื่อยๆ 6-5-4-3 หมื่น จน 5 ปีหลังสุดนี้ เขาบอกไม่มีให้

    กิจการไม่ดี  ผมบอกให้ขายเครื่องมือเครื่องจักร  แล้วแบ่งกัน เขาไม่ยอม  อ้างว่างานยังมีเข้า

    ให้เลี้ยงตัวได้บ้าง  แต่....ไม่มีจะแบ่งให้พี่ (คือ ผม)

    คำถาม : ผมพอจะเรียกร้อง  หรือทำอะไรได้บ้างมั้ยครับ?  เพราะมันเป็นหุ้นลม  พวกเขาอ้างว่า

    “พี่เองก็ไม่ได้ลงทุน (หมายถึงลงเงิน) จะมาเอาอะไร” ซึ่งทุกคนก็ไม่มีใครลงเงินทั้งนั้นเหมือนกัน

    กราบขอบพระคุณอาจารย์ครับผม

    ลูกคนแรก

    คำตอบ

    คุณคงต้องเรียกประชุมผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนมาตกลงกันว่าจะบริหารจัดการกันอย่างไร  ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็อาจต้องเลิกห้างหุ้นส่วน แล้วเอาทรัพย์สินที่เหลือคืยผู้เป็นหุ้นส่วนต่อไป  แต่ก็ต้องดูนะว่ากิจการนั้นมันใหญ่โตถึงขนาดที่จะเข้าไปร่วมกันบริหารจัดการได้หรือไม่ หรือเป็นเพียงกิจการเล็ก ๆ


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    21 กุมภาพันธ์ 2558