ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    050238 ความหมายของคำในกฎหมายนายทะเบียน13 กรกฎาคม 2557

    คำถาม
    ความหมายของคำในกฎหมาย

    เรียน ท่านอาจารย์มีชัย ที่เคารพ

           ผมมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความหมายของคำในตัวบทของกฎหมายสัญชาติ ที่ใช้คำว่า "ผู้ซึ่งมีลักษณะอื่นทำนองเดียวกัน"  จะมีความหมายว่าอย่างไรในทางกฎหมาย โดยที่มาของคำมาจาก พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๕๕ ที่กำหนดความหมายของคนไทยพลัดถิ่น หมายถึง ผู้ที่มีเชื้อสายไทยซึ่งกลายเป็นคนในบังคับของประเทศอื่นด้วยเหตุการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของราชอาณาจักรไทยในอดีต และได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลาหนึ่ง ไม่ถือสัญชาติของประเทศอื่น และได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนราษฎรตามมติ ครม. หรือผู้ซึ่งมีลักษณะอื่นทำนองเดียวกัน  การเขียนข้อความดังกล่าวไว้จะมีประโยชน์อย่างไร และจะใช้ได้กับคนกลุ่มใด เพราะคำว่า "ทำนองเดียวกัน" มีความหมายว่า "เหมือนกัน แบบเดียวกัน"  ซึ่งก็หมายความว่าผู้ซึ่งมีลักษณะอื่นทำนองเดียวกันที่จะเป็นคนไทยพลัดถิ่นได้จะต้องเป็นผู้ที่มีเชื้อสายไทยซึ่งกลายเป็นคนในบังคับของประเทศอื่นด้วยเหตุการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของราชอาณาจักรไทยในอดีต และได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลาหนึ่ง ไม่ถือสัญชาติของประเทศอื่น และได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนราษฎรตามมติ ครม. ดังนั้นการที่จะใช้กฎหมายฉบับนี้กับอดีตคนไทยที่ไปอาศัยอยู่ต่างประเทศด้วยเหตุผลอื่นที่มิใช่เรื่องการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของรัฐ เช่นกรณีของอดีตคนไทยที่เดินทางกลับมาจากพม่าซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ อ.แม่สอด อ.แม่ระมาด จ.ตาก ทางการไทยได้จัดทำทะเบียนไว้ในกลุ่มผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า เป็นต้น จึงไม่สามารถดำเนินการได้ตามกฎหมายฉบับนี้เพราะไม่มีองค์ประกอบเรื่องการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของประเทศ  เรื่องนี้มีการถกเถียงกันมากในกลุ่มผู้ปฏิบัติและผู้ที่เกี่ยวข้อง จึงใคร่ขอรบกวนท่านอาจารย์กรุณาให้ความกระจ่างด้วยครับ ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง

    คำตอบ
    ปัญหาเรื่องนี้จะมีผลต่อผู้คนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ถามทางนี้ ตอบไปก็เป็นแต่ความเห็นของคนเดียว เอาไปอ้างหรือใช้เป็นทางการไม่ได้  ทางที่ ควรนำปัญหาตัวอย่างที่ถกเถียงกันว่าเข้่าข่าย "ทำนองเดียวกันหรือไม่" แล้วส่งไปถามคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้เขาวินิจฉัยให้ ก็จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นทางการ
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    13 กรกฎาคม 2557