ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    049865 การรับผิดในฐานะนายจ้างของรถรับส่งผู้ปฏิบัติงาน25 กุมภาพันธ์ 2557

    คำถาม
    การรับผิดในฐานะนายจ้างของรถรับส่ง

    เรียน  ท่านอาจารย์มีชัย ที่เคารพ

             ดิฉันมีปัญหาจะเรียนถามค่ะ  หนูเป็นเจ้าหน้าที่ที่ดูแลรถรับส่งพนักงาน ปัญหามีว่าคนขับรถของบริษัทรถรับส่ง ขับไปเฉี่ยวชนกับรถเก๋ง ที่มีบริษัทประกันภัยรับประกันภัยไว้ ได้รับความเสียหาย และพนักงานสอบสวนให้ความเห็นว่าเป็นความประมาทของคนขับรถรับส่งแต่ฝ่ายเดียว รถเก๋งที่ถูกเฉี่ยวชนเสียค่าซ่อมไป 9,000 บาท บริษัทรับทำประกัน จึงฟ้องบริษัทเจ้าของรถรับส่ง เป็นจำเลยที่ 1 และบริษัทที่ดิฉันทำงานอยู่ในฐานะนายจ้างหรือตัวการ ใช้ จ้าง วาน เป็นจำเลยที่ 2 

            ขอสอบถามอาจารย์ว่าทางบริษัท ฯ ของดิฉัน ต้องร่วมรับผิดด้วยไหมค่ะ ที่สงสัยก็เพราะว่า แม้บริษัทฯดิฉัน จะเป็นนายจ้างก็จริง แต่เป็นการจ้างให้เขามารับส่งพนักงานอย่างเดียว ไม่ได้จ้าง หรือวาน ให้เขาไปเฉี่ยวชนกับใคร เขาขับรถประมาทเอง ทำไมต้องให้นายจ้างรับผิดชอบแทนด้วยละค่ะ  

          กราบขอบพระคุณสำหรับการตอบคำถามล่วงหน้าค่ะ

     

    คำตอบ

    ถ้าคนขับรถรับส่ง เป็นลูกจ้างของบริษัทคุณ ๆ ก็ต้องร่วมรับผิดชอบด้วย  แต่ถ้าคุณเป็นผู้ว่าจ้าง (ไม่ใช่นายจ้าง) ของบริษัทที่มารับขนพนักงานของบริษัทคุณ คนขับรถนั้นก็ไม่ใช่ลูกจ้างของบริษัทคุณ แต่เป็นลูกจ้างของบริษัทที่เป็นเจ้าของรถ  (มีคำสองคำที่ต้องสังเกตถึความแตกต่าง  คือ นายจ้าง กับ ผู้ว่าจ้าง ด้านหนึ่ง กับ ลูกจ้าง และ ผู้รับจ้าง อีกด้านหนึ่ง  โดย นายจ้างกับลูกจ้าง ใช้สำหรับสัญญาจ้างแรงงาน  ส่วน ผู้ว่าจ้าง และผู้รับจ้าง ใช้สำหรับสัญญาจ้างทำของ)


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    25 กุมภาพันธ์ 2557