ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    049838 ฎีกาต่อศาลฎีกาได้หรือไม่หนุ่ม นครสวรรค์12 กุมภาพันธ์ 2557

    คำถาม
    ฎีกาต่อศาลฎีกาได้หรือไม่

    คดีความผิดเกี่ยวกับเอกสาร

    ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยให้การรับสารภาพลดโทษเหลือจำคุก 1ปี ไม่รอ ตาม ม268 ว.แรก ประกอบ ม.265 ตาม ม. 268 ว.สอง

    ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าโทษที่ศาลชั้นต้นลงนั้น นับว่าเหมาะสมแล้ว  แต่ศาลชั้นต้นไม่รอการลงโทษจำคุกจำเลยนั้นยังไม่ต้องความเห็นของศาลอุทธรณ์ภาค 6 จึงพิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษปรับจำเลยกระทงละ 6000 บาทรวม 2 กระทง 12,000 บาท อีกสถานหนึ่งด้วย จำเลยให้การรับสารภาพลดโทษกึ่งหนึ่งตาม ม.78 คงจำคุก 1 ปี และปรับ 6000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี  ให้จำเลยรายงานตัว ต่อพนักงานคุมประพฤติทุกระยะเวลา 3 เดือน ภายในกำหนดหนึ่งปี  นับแต่วันที่ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ตาม ป.อ.มาตรา 56

    ขอถามว่า เราเป็นโจทก์ร่วมจะยื่นฎีกาต่อศาลฎีกาได้อีกหรือไม่

    คำตอบ
    คดีของคุณต้องห้ามไม่ให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง  ส่วนในปัญหาข้อกฎหมาย แม้จะฎีกาได้ แต่คุณก็ไม่ได้โต้แย้งข้อกฎหมาย คุณโต้แย้งเพียงเรื่องการรอลงอาญา ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาล
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    12 กุมภาพันธ์ 2557