ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    034782 กฎมณเฑียรบาลนักศึกษากฎหมายมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปี255023 เมษายน 2552

    คำถาม
    กฎมณเฑียรบาล

    อยากเรียนถามท่านอาจารย์มีชีย ดังต่อไปนี้

    1.กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์พ.ศ.2467มีสถานะทางกฎหมายในลำดับชั้นใด

    2.การที่รัฐธรรมนูญพ.ศ.2550(หรือฉบับก่อนหน้่านี้)บัญญัติให้พระราชธิดาสามารถเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ซึ่งดูเหมือนว่าจะขัดกับมาตรา13แห่งกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์พ.ศ.2467หรือไม่เนื่องจากรัฐธรรมนูญได้บัญญัติว่าการสืบราชสันตติวงศ์ให้เป็นไปตามนัยแห่งกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์พ.ศ.2467โดยมาตรา13ได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่าไม่ให้พระราชธิดาเสด็จขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์

    3. ถ้ากฎมณเฑียนบาลขัดกับรัฐธรรมนูญจะเกิดอย่างไรในทางกฎหมาย

    4.ถ้ายึดตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์พ.ศ.2467เป็นหลักแล้วการแต่งตั้งสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯเป็นสยามราชกุมารี(องค์รัชทายาศ)พระเจ้าอยู่หัวใช้อำนาจตามกฎหมายใดหรือตามกฎมณเฑียรบาลข้อใดเนื่องจากกฎมณเฑียรบาลฯบัญยัติมิให้แต่งตั้งพระราชธิดาเข้าไว้ในลำดับการสืบราชสันตติวงศ์

    ขอบขุณมากครับหากกรุณาตอบคำถามซึ่งมีความสงสัยมานานมาก

    ขอบคุณครับ

    นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    23/01/2552-13.33

    คำตอบ

    1. เดิมก่อนปี 2534 กฎมณเฑียรบาลมีฐานะเทียบเท่ากับรัฐธรรมนูญ เพราะการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกำหนดให้ทำด้วยวิธีเดียวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ  แต่หลังจากปี 2534 เป็นต้นมา ได้กำหนดให้กฎมณเฑียรบาลมีลักษณะพิเศษเฉพาะที่การแก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นพระราชอำนาจโดยเฉพาะ (ดูวรรคสองของมาตรา ๒๒ ของรัฐธรรมนูญปัจจุบัน)  อนึ่ง รัฐธรรมนูญปี 2492 ได้กำหนดห้ามไม่ให้ยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลดังกล่าว

    2. ในกรณีนั้นเท่ากับรัฐธรรมนูญได้แก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลเสียใหม่ ให้สามารถเสนอพระนามพระราชธิดาได้ 

    3. ต้องถือตามรัฐธรรมนูญเป็นหลัก

    4. อาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๑ ของรัฐธรรมนูญ (ในขณะที่ทรงสถาปนา รัฐธรรมนูญในขณะนั้นอาจมีเลขมาตราที่แตกต่างกัน แต่ข้อความตรงกัน)


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    23 เมษายน 2552