ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    030753 การออกพระราชกำหนดและการบังคับใช้พระราชกำหนดนายพนอม จะนันท์4 กันยายน 2551

    คำถาม
    การออกพระราชกำหนดและการบังคับใช้พระราชกำหนด

    เรียน ท่านอาจารย์มีชัย

             ตอนนี้รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานคร โดยอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548  ผมในฐานะคนไทยคนหนึ่งและเคยเล่าเรียนมา  ผมมีความสนใจและสงสัยในการออกพระราชกำหนด และการใช้บังคับพระราชกำหนดครับ  จึงใคร่ขอเรียนถามท่านอาจารย์  ดังนี้ครับ

            - โดยปกติแล้วตามที่เข้าใจ  เมื่อมีการออกพระราชกำหนดเพื่อแก้ไขปัญหากรณีฉุกเฉินแล้ว ครม.จะต้องนำพระราชกำหนดนั้นๆ เสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อออกเป็นพระราชบัญญัติต่อไป  ถ้าสภาฯเห็นชอบด้วยก็ให้นำประกาศใช้ป็นพระราชบัญญัติ  แต่ถ้าสภาฯไม่เห็นชอบก็จะทำให้พระราชกำหนดนั้นตกไป แต่ก็ไม่มีผลกระทบการใดๆที่ผ่านมาในระหว่างการบังคับใช้พระราชกำหนด  ผมจึงถามว่า กรณีพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548  ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2548 นั้น  ตอนนี้ ครม.ได้นำเสนอสภาฯพิจารณาเพื่อเปลี่ยนสถานภาพเป็นพระราชบัญญัติแล้วหรือยัง  หรือไม่ต้องเสนอสภา  แล้วทำไมพระราชกำหนดดังกล่าวยังคงสถานภาพเป็นพระราชกำหนดอยู่เช่นเดิม  ถ้านับเวลานับแต่ปี 2548 - ปัจจุบัน น่าจะออกเป็นพระราชบัญญัติได้แล้ว  ไม่รู้ว่าผมมีความเข้าใจถูกหรือเปล่า

                 -  ทำไมพระราชกำหนดนี้ยังคงเป็นพระราชกำหนดอยู่เช่นเดิมโดยไม่มีการเปลี่ยนเป็นพระราชบัญญัติ  เพราะเหตุใดครับ และทำไมต้องเป็นเช่นนั้นครับ

                              ขอขอบพระคุณครับ

                             (นายพนอม  จะนันท์)

     

    คำตอบ
    อันพระราชกำหนดนั้น เมื่อได้ตราเป็นพระราชกำหนดแล้วก็จะคงอยู่ในรูปพระราชกำหนดตลอดไป แม้เมื่อสภาให้ความเห็นชอบแล้ว 
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    4 กันยายน 2551