ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    030245 กฏหมายอ้อยและน้ำตาลที่ใช้ในปัจจุบันนี้ 2527นายละเอียด ละออ7 สิงหาคม 2551

    คำถาม
    กฏหมายอ้อยและน้ำตาลที่ใช้ในปัจจุบันนี้ 2527
    เรียนท่านอาจารย์มีชัยที่เคารพครับ กระผมมีความไม่เข้าใจมากเรื่องกฏหมายอ้อยน้ำตาลที่ประกาศใช้มาตั้งแต่ปี2527 อ่านดูแล้วเป็นเรื่องใช้บังคับระหว่างโรงงานน้ำตาลกับชาวไร่อ้อยเท่านั้น ไม่เกี่ยวหรือส่งผลต่อประชาชนคนไทยในชาติแม้แต่นิดเดียว กล่าวคือไม่ได้ครอบคลุมไปถึงบุคคลที่สามหรือบุคคลภายนอกแต่อย่างใดทั้งสิ้น เนื้อหาในกฏหมายอ้อยน้ำตาลปี2527นี้จึงเห็นว่าเป็นกฏหมายที่เอื้ออำนวยประโยชน์ให้คนกลุ่มเดียวเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคนกลุ่มเดียวเท่านั้นคือพวกโรงงานน้ำตาลกับพวกชาวไร่อ้อยเท่านั้น และดูแล้วเห็นว่าเป็นกฏหมายที่ล้าหลังไม่ทันสมัยต่อภาวะปัจจุบันนี้ในยุคการค้าเสรี แต่มีการผูกขาดราคาน้ำตาลทราย ทั้งที่ผลิตในเมืองไทยแท้ๆ ที่น่าแปลกใจมากจริงคืองบประมาณที่ใช้ในการบริหารงานนั้นเป็นงบราชการแผ่นดินน้อยมากบวกกับเงินที่เก็บจากโรงงานน้ำตาลกับพวกชาวไร่อ้อยมาใช้ในการบริหารงาน ดังนั้นรูปแบบการบริหารงานเป็นไปแบบองค์กรผูกขาดสินค้าน้ำตาลทรายถึงการขายน้ำตาลทรายให้แก่ประชาชนผู้บริโภค ซึ่งไม่ได้รับประโยชน์อันใดจากกฏหมายนี้แต่อย่างใดทั้งสิ้น ในอนาคตข้างหน้าหากแม้นว่ามีการยกเลิกหรือแก้ไขกฏหมายนี้ขึ้นมาในฐานะคนไทยในชาตินี้หวังว่าท่านอาจารย์มีชัยคงจะช่วยพิจารณาให้เกิดความเป็นธรรมต่อประชาชนคนไทยผู้บริภคด้วยนะครับ มากกว่าไปเข้าข้างโรงงานน้ำตาลหรือพวกชาวไร่อ้อย ที่วันนี้ดูจากข่าวสารบ้านเมืองแล้วเห็นว่ามีหนี้สิ้นนับหมื่นล้านๆบาท แล้วประเทศชาติไทยจะไปรอดไหม?ครับท่านอาจารย์มีชัย สำหรับหน่วยงานที่ดูแลเห็นว่ามีตั้ง3หน่วยงานคือ อุตสาหกรรม พาณิชย์ กับเกษตร ดูแล้วมันบ้าไหมครับ มันมากเกินไปแล้วสำหรับกฏหมายลักษณะนี้ จะให้หน่วยงานไหนดูแลก็ควรเป็นหน่วยงานเดียวก็เพียงพอแล้ว ชี้ให้เห็นระบบราชการที่ห่วยแตกตกต่ำลงทุกวันไม่มีการพัฒนาให้สู่ความเจริญก้าวหน้าแต่อย่างใดทั้งสิ้น มีแต่ความล้าหลังสร้างหนี้สิ้นไม่พ้นภาระรัฐบาลที่ต้องเอาภาษีประชาชนมาอุดหนุนพวกคนกลุ่มนี้ ที่ก่อหนี้สิ้นไม่หยุดมีแต่สร้างหนี้สิ้นเพิ่มทุกวันทุกปี ขอความเห็นจากท่านอาจารย์มีชัยในเรื่องกฏหมายอ้อยน้ำตาลทรายปี2527นี้ด้วยครับเพื่อความกระจ่างต่อประชาชนคนไทยต่อไปครับ
    คำตอบ

    เรียน คุณละเอียด

        กฎหมายอ้อยและน้ำตาล เป็นกฎหมายที่สร้างความทัดเทียมระหว่างผู้ผลิตที่เป็นเกษตรกร และผู้ผลิตขั้นที่สอง คือโรงงาน ให้เกิดความเป็นธรรมในการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดจากอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล ในขณะเดียวกันก็คุ้มครองผู้บริโภคให้มีน้ำตาลทรายบริโภคอย่างสม่ำเสมอและในราคาที่เป็นธรรม อันที่จริงถ้าสามารถทำกฎหมายที่เกี่ยวกับการปลูกข้าวให้ได้ทำนองเดียวกันกับอุตสาหกรรมน้ำตาล ก็อาจจะเป็นประโยชน์แก่ชาวนาได้บ้าง แทนที่จะถูกกดขี่อย่างที่เป็นอยู่ ส่วนผู้ส่งออโรงสี รวยเอา ๆ


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    7 สิงหาคม 2551