ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    027277 อายุความศิวะพรรณ30 มีนาคม 2551

    คำถาม
    อายุความ

    เรียนท่านอาจารย์ กระผมขอเรียนถามท่านเกี่ยวกับกฏหมายอาญาเรื่องอายุความ กระผมขอเรียนถามว่า การกำหนดอายุความในคดีอาญามีสาเหตุและจุดประสงค์หลักคืออะไร เช่น คดีบางอย่างกำหนด 20 ปี ซึ่งดูว่านานมาก ๆ  กระผมเรียนท่านถึงข้อสงสัยดังนี้

      .  ทราบว่าการกำหนดอายุความนาน ๆ  เพื่อการค้นหาหลักฐาน พยาน หรือป้องกันการหลบหนี แต่

         ถ้าหากว่ามีผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดคดีอาญา แต่เขาไม่เคยหลบหนี เวลาเรียกสอบสวนก็ให้ความร่วมมือโดยดี หลักฐานต่าง ๆ  ก็ครบถ้วน ซึ่งดำเนินการโดยคณะอนุกรรมการเสร็จเรียบร้อย รอแต่เสนอคณะกรรมการพิจารณา แต่เรื่องกลับเงียบไปจนล่วงเลยมาเป็นเวลา 5-6 ปี อย่างนี้ ผู้กระทำความผิดก็โดนสังคมลงโทษไปแล้ว และจะต้องอยู่อย่างคนมีความผิดในความคิดของสังคม ทำให้เสียโอกาสทุกอย่างไป เป็นเพราะว่าคดียังไม่เคยถูกฟ้องเลย ในกรณีนี้ ในเมื่อผู้ที่ถูกหาว่าเป็นผู้กระทำความผิด ไม่เคยหลบหนี และให้ความร่วมมือในทุก ๆ เรื่อง แต่ความล่าช้าเกิดจากความผิดพลาดทางภาครัฐ จนเวลาล่วงเลยมาถึง 5-6 ปี ในฐานะที่ท่านเป็นนักกฏหมาย ท่านพอจะมีทางช่วยเหลือผู้ถูกกล่าวหาดังกล่าวได้อย่างไร และกรณีนี้ ผู้ถูกกล่าวหาเขาเข้าข่ายสาเหตุและจุดประสงค์ของกฏหมายอายุความด้วยหรือไม่ ในเมื่อเขาไม่เคยหลบหนี พร้อมทั้งให้ความร่วมมือในการสอบสวนทุกอย่างโดยดี และข้อมูลอะไรก็ครบทุกอย่างแล้วตั้งนานแล้วอย่างนี้อายุความในการฟ้องร้องยังไม่หมดอยู่อีกหรือ ความยุติธรรมสำหรับผู้ถูกกล่าวหาจะมีบ้างไหม ขอเรียนท่านได้โปรดอธิบายโดนใช้หลักเมตตาธรรมประกอบด้วย นอกเหนือการใช้หลักกฏหมาย

        อีกอย่างกระผมว่านักกฏหมายที่ดี คือบุคคลที่ใช้วิชาความรู้ที่ร่ำเรียนมาทางด้านกฏหมาย มาช่วยเหลือคนกระทำผิดกฏหมาย มากกว่าที่จะใช้วิชากฏหมายที่ร่ำเรียนมา มาทำร้ายคนที่กระทำความผิด เพราะคนทั่ว ๆ  ไปน้อยคนนักที่จะรู้กฏหมาย แม้แต่นักกฏหมาย อ่านกฏหมายทุกวัน บางครั้งยังไม่เข้าใจกฏหมายเลยก็มี ในเมื่อท่านเป็นนักกฏหมายที่ดี และเก่ง ขอให้ท่านได้พิจารณาความคิดอันน้อยนิดของกระผมเพื่อให้บรรลุด้วยเทอญ

     

    คำตอบ

    เรียน คุณศิวะพรรณ

    การกำหนดอายุความไว้ก็เพื่อให้มีระยะเวลาสิ้นสุดสำหรับการดำเนินคดีใด ๆ ประกอบกับถ้าปล่อยเวลาให้เนิ่นนานจนเกินสมควรการหาพยานหลักฐานก็จะยิ่งยากขึ้น ความเสี่ยงต่อการลงโทษคนผิดพลาด ก็จะเกิดง่ายขึ้น  ส่วนอายุความจะสั้นหรือยาว นั้น ถ้าเป็นทางอาญาก็ถือหลักว่าถ้าเป็นความผิดที่รุนแรงมีโทษจำคุกมาก อายุความก็จะยาว ถ้าโทษเบาอายุความก็สั้น เช่นถ้าเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต ก็มีอายุ

    ความ ๒๐ ปี ถ้าเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหนึ่งเดือน ก็มีอายุ

    ความ ๑ ปี   เวลาคุณต้องรออายุความ คุณก็จะรู้สึกว่ายาวนาน และน่าจะคุ้มแล้ว ส่วนคนที่ไม่เคยต้องรอ หรือถูกทำร้าย ก็จะรู้สึกว่าอายุความสั้นไป  ตอนนี้มีนักวิชาการและนักการเมืองเริ่มคิดว่าอายุความที่กำหนดไว้นั้นสั้นไป และกำลังจะขยายอายุความออกไปอีกด้วยซ้ำไป


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    30 มีนาคม 2551