ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    022094 ยังสงสัยเกี่ยวกับราชโองการเด็กมาขอวิทยาทาน9 มิถุนายน 2550

    คำถาม
    ยังสงสัยเกี่ยวกับราชโองการ

    ต้องรบกวนอีกนะครับ ขออภัยจริงๆ แต่หากราชโองการเป็นเพียงราชโองการ( เป็นคำสั่งพระมหากษัตริย์ ) เท่านั้น แล้วในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เวลามีพระราชโองการออกมาทุกคนต้องปฏิบัติตาม ไม่นับว่าเป็นกฎหมายหรือครับ เพราะถ้าเปรียบเทียบตามลักษณะแล้วก็คือ

    1.ออกโดยรัฐาธิปปัตย์ (คือตัวพระมหากษัตริย์เอง)

    2.มีผลบังคับกับบุคคลในรัฐ หรือ มีผลบังคับกับทุกคน

    3.มีสภาพบังคับ

    4.ฝ่าฝืนมีบทลงโทษ

    ถ้าโดยรวมก็ครบตามองค์ประกอบให้เป็นกฎหมายได้ แล้วจะเทียบว่าพระราชโองการมีศักดิ์เท่ากฎหมายรัฐธรรมนูญได้ไหมครับ หรือผมเข้าใจผิด ช่วยอธิบายทีนะครับ เพราะผมเข้าใจค่อนข้างยาก ฝากอาจารย์แน่นำแหล่งข้อมูลให้ผมด้วยนะครับ ขอบคุณอาจารย์มากครับ

    คำตอบ

    ที่บอกไปนั้นเป็นพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในปัจจุบัน   ส่วนในอดีตที่บ้านเมืองปกครองโดยระบอบสมบูรณาสิทธิราชนั้น พระบรมราชโองการ ย่อมเป็นได้ทุกอย่าง ตั้งแต่กฎหมาย คำสั่งทางบริหาร หรือคำสั่งทางปกครอง รวมทั้งคำพิพากษา


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    9 มิถุนายน 2550