ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    019208 แนวคิดทางกฎหมายเต็มสิทธิ์25 ตุลาคม 2549

    คำถาม
    แนวคิดทางกฎหมาย

    เรียนอาจารย์ที่เคารพ

    ผมติดตามการใช้กฎหมายมา พบว่า มีการตีความกันบ่อยมาก การตีความหลายครั้งมีปัญหาในกาลต่อมา ผมเลยมาคิดว่า หากกระบวนการในการออกกฎหมาย ได้บันทึก ได้เก็บรวบรวมประเด็นในเจตนาแห่งการออกกฎหมายไว้ให้สมบูรณ์(ชนิดเก็บรายละเอียดอย่างพิสดาร)ในการเขียนอธิบายประเด็นทางกฎหมายไว้เสียแต่แรก และกำหนดให้ประเด็นอื่นที่ไม่ปรากฏตามเจตนารมณ์ทางกฎหมายฉบับนั้น ให้ถือว่ากฎหมายไม่ได้บังคับใช้ในทุกกรณี เพราะการออกกฎหมาย ย่อมนำผลบังคับไปใช้อ้างอิงในการปฏิบัติ ดังนั้น หากกฎหมายไม่ระบุเจตนา ย่อมจะนำมาบังคับใช้ในกรณีนั้นไม่ได้(คือไม่มีข้อห้าม และไม่มีข้อรับรอง) ซึ่งผมเห็นว่า แม้จะยุ่งยากในตอนแรก ในสมัยนี้ การเก็บข้อมูลก็สะดวกสบายมากกว่าเก่าเยอะ น่าจะเป็นไปได้ในทางปฏิบ้ติ อาจารย์เห็นว่าอย่างไรครับ

    ขอบพระคุณครับ

    คำตอบ

    เรียน คุณเต็มสิทธิ์

         อันกฎหมายนั้นย่อมออกมาเพื่อใช้บังคับกับกรณีที่เคยเกิดขึ้นแล้ว กำลังจะเกิด และที่คาดว่าอาจจะเกิดขึ้นในอนาคต  ถึงจะมีเหตุผลจดบันทึกไว้ ก็เป็นเพียงความต้องการหรือความนึกคิด ความเข้าใจของผู้ร่างเท่านั้น  ส่วนสำคัญที่จะนำมาใช้ตีความคือตัวอักษร และสาระทั้งหมดของกฎหมายนั้น ๆ (ซึ่งเรียกกันว่าเจตนารมณ์ของกฎหมาย ซึ่งเป็นคนละอย่างกับเจตนาของผู้ร่าง) ถ้อยคำที่ใช้ในกฎหมายในบางกรณีก็จะจำกัดให้แคบ แต่บางกรณีก็จะให้มีความหมายอย่างกว้าง เพื่อให้ครอบคลุมในสิ่งที่ในขณะที่ร่างยังไม่รู้ว่าจะเป็นอะไร มาในรูปไหน เพื่อว่าจะได้ไม่ต้องคอยแก้ไขกฎหมายอยู่ร่ำไป  ตัวอย่างเช่น คำนิยามคำว่า "ทรัพย์" ท่านเขียนไว้ว่า หมายถึงวัตถุที่มีรูปร่าง  ซึ่งแปลว่าอะไรที่มีรูปร่างก็เป็นทรัพย์ทั้งนั้น  ส่วน"ทรัพย์สิน" ท่านให้ความหมายไว้ว่า หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้  เขียนเพียงเท่านี้ เมื่อปี ๘๐ กว่าปีมาแล้ว ปัจจุบันก็ยังใช้ได้ ทั้ง ๆ ที่โลกได้พัฒนาจากยุคไอน้ำมาเป็นยุคไอที แล้วก็ตาม

          วันหลังจะถามอะไรก็รวม ๆ ถามมาเสียทีเดียวกัน อย่าแยกกัน เพราะทำให้ต้องแยกตอบและเสียเวลาโดยใช่เหตุ

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    25 ตุลาคม 2549