ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    018382 ภาษากฎหมายที่เปลี่ยนไปกิตติพงษ์ มโนภาส29 สิงหาคม 2549

    คำถาม
    ภาษากฎหมายที่เปลี่ยนไป

    เรียน อ. มีชัย

         เหตุใดครับ ภาษากฎหมายไทยในปัจจุบันถึงได้เปลี่ยนไป โดยเฉพาะในช่วง 4-5 ปีมานี้  ผมหมายถึง คำว่า หน่วยงานราชการ ข้าราชการ ถูกแทนที่ด้วยคำว่า หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ คำว่า ราชอาณาจักร ก็ไม่มีให้เห็น จะมีคำว่า รัฐ หรือ ประเทศ มาแทน  พอนาน  ๆ  เข้า ประชาชนก็เรียกตามกันหมด ผมเห็นว่าเรื่องแบบนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เกรงว่าปล่อยไว้นานจะไม่ดีแน่เลยครับ

        บางท่านให้เหตุผลว่า จะได้ดูทันสมัยเหมือนตะวันตกเขาบ้าง ผมไม่เห็นด้วยครับ เพราะขนาดประเทศอังกฤษ นายกโทนี แบร์เขายังเคยพูดเลยว่าเป็นรัฐบาลในสมเด็จพระราชินี หรือสมเด็จพระราชินีองค์ปัจจุบันก็ยังเคยตรัสว่า รัฐบาลของฉันทำได้ดี...อะไรทำนองนี้ หรือแม้แต่กองทัพของอังกฤษ ก็ยังเคยมีคำกล่าวว่าเป็นกองทัพแห่งสมเด็จพระราชินี  เขาก็ภาคภูมิใจและยกย่องประเพณีของเขา

        บางท่านให้เหตุผลว่า  ใช้คำว่า  หน่วยงานของรัฐ  เจ้าหน้าที่ของรัฐ จะได้ครอบคลุมถึงหน่วยงานรัฐวิสาหกิจด้วย ผมก็ไม่เห็นด้วยอีกครับ เพราะในอดีต บทนิยามของกฎหมายก็ได้นิยามศัพท์ คำว่า ส่วนราชการ หน่วยงานราชการให้หมายถึง หน่วยงานรัฐวิสาหกิจด้วยอยู่แล้ว

        หรือเป็นเพราะว่า นักกฎหมายไทยไปเรียนที่ต่างประเทศมามาก พอกลับเมืองไทยลืมประยุกต์วิทยาการความรู้ให้เขากับบ้านเมืองของเราหรือเปล่าครับ

        ไม่ทราบว่าท่านอาจารย์มีความเห็นว่าอย่างไรบ้างครับ

    คำตอบ

    เรียน คุณกิตติพงษ์

          ไม่ใช่เรื่องของการเดินตามตะวันตกหรืออะไรทำนองนั้นหรอก หากแต่กฎหมายนั้นออกมาเพื่อใช้กับกิจกรรมต่าง ๆ ณวันที่ออกกฎหมายและในอนาคต  ดังนั้น ณ วัน ออกกฎหมายนั้น กิจกรรมและสภาพแห่งสังคมเป็นอย่างไร กฎหมายก็ต้องออกมาให้เหมาะกับกิจกรรมและสภาพนั้น   ในสมัยก่อนกฎหมายที่เกี่ยวกับราชการ จะเกี่ยวข้องกับ "ข้าราชการ" "ส่วนราชการ" หรือหน่วยงานราชการ"  เพราะในขณะนั้น มีแต่ "ข้าราชการ "ส่วนราชการ หรือ หน่วยงานราชการ เท่านั้น   แต่ในปัจจุบัน ราชการได้พัฒนาองค์กร เป็นอะไรหลายอย่างที่ไม่ใช่ส่วนราชการ หรือข้าราชการ อีกต่อไป  มีองค์กรต่าง ๆ ที่มีสภาพเป็นของรัฐ แต่ไม่ใช่ส่วนราชการ มีคนที่ทำงานให้รัฐ แต่มิได้เป็นข้าราชการ  เช่น องค์การมหาชน หน่วยงานในกำกับของรัฐ (เช่นมหาวิทยาลัยนอกระบบราชการ) ส่วนข้าราชการ ก็แปรสภาพเป็น พนักงานราชการบ้าง ลูกจ้างบ้าง คนที่เข้ามาทำงานตามสัญญาบ้าง เวลาที่จะกล่าวหน่วยงานเหล่านั้น ก็ต้องเรียกรวมกันว่า "หน่วยงานของรัฐ"  หรือถ้าจะพูดถึงบุคลากร ก็ต้องเรียกรวมกันว่า "เจ้าหน้าที่ของรัฐ" เป็นต้น

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    29 สิงหาคม 2549