ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    016097 ข้อแตกต่างระหว่างการแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน กับการแจ้งความร้องทุกข์ชาวบ้าน10 กุมภาพันธ์ 2549

    คำถาม
    ข้อแตกต่างระหว่างการแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน กับการแจ้งความร้องทุกข์

    เรียน อาจารย์มีชัย

    เมื่อวันก่อนบ้านผมโดนขโมยขึ้นบ้าน ถูกยกเค้าไปประมาณแสนกว่าบาท ผมจึงได้ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ หลังจากนั้นตำรวจก็มาดูที่เกิดเหตุแล้วก็เชิญผมไปที่สถานีฯ อีกรอบเพื่อขอทราบข้อเท็จจริง หลังจากให้การไปแล้วทางร้อยเวรแจ้งให้ผมทราบว่า กรณีดังกล่าวเป็นกรณีที่มีความผิดเกิดขึ้นแล้วแต่ทั้งผมและตำรวจ ยังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้กระทำความผิด จึงส่งผลให้ทำได้แค่รับแจ้งไว้เป็นหลักฐานและลงบันทึกประจำวันไว้ในเบื้องต้นเท่านั้น

           ผมจึงเกิดข้อสงสัยขึ้นมาดังนี้ครับ

    1.เนื่องจากผมเคยได้ทราบมาว่า ลำพังแค่การลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานนั้นไม่ใช่การแจ้งความร้องทุกข์ ในเมื่อการร้องทุกข์ยังไม่เกิดตำรวจก็ไม่มีสิทธิดำเนินคดี แต่ในขณะเดียวกันทั้งๆที่ผมระบุยืนยันชัดเจนว่าต้องการจะดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด ตำรวจกลับบอกว่าต้องรู้ตัวผู้กระทำความผิดก่อนแล้วค่อยร้องทุกข์ได้ ส่วนตอนนี้ทำได้แค่ลงบันทึกประจำวันเท่านั้น*** กรณีแบบนี้แสดงว่าประชาชนผู้ได้รับความเสียหายและเดือดร้อนจะต้องเป็นผู้ที่มีหน้าที่สืบหาตัวคนร้ายเองอย่างนั้นหรือครับ

    2.ต่อมาในภายหลังหากผมหรือตำรวจทราบว่าใครเป็นผู้กระทำความผิด ผมจะต้องไปแจ้งความใหม่หรือไม่ครับ

    3.การแจ้งความร้องทุกข์ตามกฎหมายนั้น จำเป็นด้วยหรือครับที่ผู้เสียหายจะต้องทราบว่าผู้กระทำความผิดเป็นใคร อายุเท่าไหร ประกอบอาชีพอะไร บ้านอยู่ไหน หากผู้เสียหายไม่ทราบรายละเอียดดังกล่าว การที่ตำรวจทำได้แค่ลงบันทึกประจำวันนั้นเป็นการถูกต้องหรือไม่

                                        ขอแสดงความนับถือ

    คำตอบ

    เรียน ชาวบ้าน

          การร้องทุกข์หรือกล่าวโทษ เป็นขั้นตอนเริ่มต้นของการสอบสวนและดำเนินคดี  ถ้าเขาไม่รู้ว่าใครทำผิด ก็ย่อมไม่สามารถสอบสวนเพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีได้ แต่การแจ้งความนั้นเป็นขั้นตอนที่บอกให้ตำรวจรู้ว่ามีความไม่สงบหรือเกิดการกระทำความผิดขึ้นเพื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจจะได้ไปดำเนินการสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดซึ่งเป็นหน้าที่อีกอย่างหนึ่งของตำรวจเหมือนกัน

          1. ตำรวจมีหน้าที่ไปสืบหาตัวคนร้าย แต่ถ้าประชาชนให้ความร่วมมือหรือช่วยเหลือด่วย ก็อาจได้คนร้ายเร็วขึ้น

          2. ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าในทางปฏิบัติเขาต้องให้กลับไปร้องทุกข์ใหม่หรือไม่

          3. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กำหนดไว้ในมาตรา ๑๒๓ ว่าคำร้องทุกข์ต้องมีอะไรบ้าง หนึ่งในหลายเรื่องกำหนดให้ต้องบอกชื่อหรือรูปพรรณของผู้กระทำผิดเท่าที่จะบอกได้

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    10 กุมภาพันธ์ 2549