ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    016020 คุณสมบัติผู้ขอใบอนุญาตโรงแรมbank2 กุมภาพันธ์ 2549

    คำถาม
    คุณสมบัติผู้ขอใบอนุญาตโรงแรม

    เรียน ท่านมีชัยที่เคารพ

                 ขอเรียนถามเรื่องคุณสมบัติของการขอรับใบอนุญาตโรงแรม ตาม พรบ.โรงแรม 2547 ซึ่งมาตรา ๑๖  กำหนดคุณสมบัติไว้ใน () ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษผมไปยื่นขออนุญาตเปิดโรงแรมเล็กๆ แต่เจ้าหน้าที่ตรวจพบประวัติว่าเคยต้องคำพิพากษาจำคุกหกเดือน แต่ศาลพิพากษารอการลงโทษไว้ 2 ปี ในความผิดเกี่ยวกับป่าไม้ เมื่อปี 2535 จึงไม่ออกใบอนุญาตให้...ขอเรียนถามท่านมีชัยว่า..

    1. กฎหมายโรงแรมฉบับเก่าไม่ได้กำหนดข้อห้ามดังกล่าวไว้ แต่กฎหมายโรงแรมใหม่ (พ.ศ.2547) ได้กำหนดห้ามไว้เช่นนี้ เจ้าหน้าที่จะใช้กฎหมายย้อนหลังกับผมได้หรือ....

    2.หากเจ้าหน้าที่ใช้กฎหมายย้อนหลังไปได้ ผมจะอ้างเรื่องที่มีกฎหมายล้างมลทินเมื่อปี 2539 จะฟังได้หรือไม่

           ขอขอบคุณท่านมีชัยเป็นอย่างสูง และขอให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเป็นที่พึ่งกับประชาชนต่อไป

    ขอบคุณครับ

     

    คำตอบ

    เรียน bank

            การที่คุณถูกศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกแต่ให้รอลงอาญาไว้นั้น ไม่ถือว่าคุณเคยได้รับโทษจำคุก เพราะฉะนั้น คุณจึงไม่ขาดคุณสมบัติ เรื่องทำนองนี้ศาลรัฐธรรมนูญก็เคยวินิจฉัยไว้แล้วว่า การจะขาดคุณสมบัติต้องได้รับโทษจริง ๆ เพียงแต่ศาลพิพากษาให้จำคุกแต่ให้รอลงอาญา ยังไม่ถือว่าเป็นการถูกจำคุก

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    2 กุมภาพันธ์ 2549