ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    015813 หนังสือมอบอำนาจจะถือเป็นเอกสารรับสภาพหนี้ได้หรือไม่ครับสอบถาม11 มกราคม 2549

    คำถาม
    หนังสือมอบอำนาจจะถือเป็นเอกสารรับสภาพหนี้ได้หรือไม่ครับ

    เรียนท่านอาจารย์มีชัย

    เรื่องมีอยู่ว่า

    เจ้าหนี้อ้างว่าลูกหนี้ได้กู้ยืมเงินไปเป็นจำนวนหลายแสนบาท เมื่อปี 2538
    แต่ไม่มีการทำสัญญากู้ยืมเงินไว้เป็นหลักฐาน
    ต่อมาลูกหนี้ได้เสียชีวิตลง
    เจ้าหนี้ได้ส่ง notice ทวงถามหนี้กับทายาทกองมรดก
    โดยเจ้าหนี้แสดงเอกสารอ้างอิงคือ
    หนังสือมอบอำนาจให้ประเมินราคาที่ดิน ที่ทำขึ้นเมื่อปี 2544
    โดยลูกหนี้เป็นคนลงนามในหนังสือมอบอำนาจนั้น
    ในหนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า
    มอบอำนาจให้ไปประเมินราคาที่ดิน
    เพื่อเป็นฐานในการชำระคืนเงินกู้ดังกล่าวให้กับเจ้าหนี้

    ผมขอเรียนถามอาจารย์ดังนี้ครับ

    1. หนังสือมอบอำนาจนี้
    จะถือเป็นหนังสือยอมรับสภาพหนี้ได้หรือไม่ครับ
    แล้วจะใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องทวงหนี้ได้หรือไม่
    ศาลจะรับฟ้องหรือไม่ครับ หากไม่มีสัญญาเงินกู้ประกอบ

    2. หากศาลรับฟ้องทายาทจะต่อสู้คดีว่า
    หนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารเท็จได้หรือไม่ครับ
    หนังสือมอบอำนาจนี้เป็นลายมือเขียนของผู้รับมอบอำนาจ (ไม่ใช่เจ้าหนี้)
    และเซนต์โดยลูกหนี้
    ก่อนเสียชีวิต ลูกหนี้เคยบอกญาติๆว่าไม่เคยเซนต์เอกสารกู้ยืมเงิน
    จึงเชื่อได้ว่า อาจจะเป็นลายเซนต์ปลอม
    หรือหากเป็นลายเซนต์จริง ก็เชื่อว่าลูกหนี้ถูกหลอกให้เซนต์ฟอร์มเปล่า
    และภายหลังเจ้าหนี้เอาไปเติมข้อความเพิ่มเอง เรื่องการชำระหนี้
    ศาลจะรับฟังหรือไม่ครับ และจะมีการนำสืบกันอย่างไรครับ

    3. เจ้าหนี้จะต้องชี้แจงต่อศาลหรือไม่ครับว่า
    เงินกู้ยืมดังกล่าวกู้ยืมกันไปเพื่ออะไร
    และมีการรับจ่ายเงินกันจริงหรือไม่ด้วยวิธีได
    ทั้งนี้เจ้าหนี้กับลูกหนี้ไม่ได้เป็นญาติกัน
    แต่เจ้าหนี้อ้างว่ามีการให้ยืมเงินจำนวนมากโดยไม่คิดดอกเบี้ย
    และไม่มีการติดตามทวงถามเป็นเวลาสิบปี
    ซึ่งเป็นการผิดวิสัยเป็นอย่างมาก

    4. ศาลจะให้น้ำหนักพยานบุคคลมากน้อยแค่ไหนครับ
    เนื่องจากเรื่องราวที่แท้จริงคือคือเงินดังกล่าวไม่ได้เป็นเงินกู้
    แต่เป็นเงินเพื่อวิ่งเต้นตำแหน่งราชการ
    เจ้าหนี้ไม่กล้าฟ้อง รอจนกระทั้งลูกหนี้เสียชีวิตแล้ว
    ไม่อาจให้การซัดทอดได้ว่าเป็นเงินสินบน จึงขู่จะฟ้อง
    แต่ยังมีพยานบางคนที่ทราบเรื่องราว
    (จากปากของเจ้าหนี้เอง)
    ว่าเงินจำนวนนี้เป็นเงินสินบน
    ศาลจะรับฟังความพยานบุคคลหรือไม่ครับ

    โดยรวมๆแล้ว อยากถามแนวทางท่านอาจารย์ครับ
    ว่าทายาทมีช่องทางต่อสู้อย่างไรบ้างครับ
    เนื่องจากมรดกตกทอดไม่ได้มีจำนวนมากมายอะไร
    และเป็นทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนเวลาดังกล่าวแล้วทั้งสิ้น
    และผู้ตายก็ไม่ได้รับสินบนแต่อย่างใด
    เนื่องจากไม่ได้มีตำแหน่งใหญ่โต
    เพียงแต่เป็นตัวกลางในการนำส่งเงินเท่านั้น
    เมื่อการวิ่งเต้นไม่สำเร็จ ผู้ให้กู้เลยคิดจะอาศัย
    ช่องทาง กม. เพื่อทวงหนี้ที่ผิด กม. ได้หรือไม่ครับ

    ขอบพระคุณอาจารย์มากครับ

    คำตอบ

            1. การกู้ยืมเงินนั้นแม้ไม่มีสัญญาก็อาจฟ้องร้องบังคับกันได้ แต่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือว่าได้มีการกู้ยืมเงินกันไปจริง  หนังสือมอบอำนาจนั้น ถ้าได้มีการระบุว่าได้เป็นหนี้บุคคลใด (ซึ่งต้องปรากฏชื่อเจ้าหนี้) เป็นจำนวนเงินเท่าไร ก็อาจใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีได้ แต่ถ้าเพียงแต่กล่าวว่า เพื่อจะได้นำเงินไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ (ซึ่งไม่ระบุว่าเป็นใคร) ก็ยังไม่อาจถือว่าเป็นหลักฐานเป็นหนังสือที่จะบังคับคดีกันได้

           2. ถ้าจะสู้ว่าเป็นเอกสารปลอมก็ต้องแน่ใจว่าเป็นการปลอมจริง ๆ มิฉะนั้นอาจเสียรูปคดีได้ ทางที่ดีควรนำหนังสือนั้นไปให้ทนายความดูเพื่อปรึกษาเขาในการต่อสู้คดี

        3. เจ้าหนี้ไม่จำเป็นต้องรู้หรือพิสูจน์ว่ากู้เอาไปทำอะไร

        4. ควรปรึกษาทนายความ เพราะแม้จะมีช่องทางในการต่อสู้ แต่ก็ต้องระมัดระวังมิให้กลายเป็นการหมิ่นประมาท

     

       


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    11 มกราคม 2549