ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    015653 การใช้ดุลยพินิจชูวิทย์19 ธันวาคม 2548

    คำถาม
    การใช้ดุลยพินิจ

    มีเรื่องของการใช้ดุลยพินิจของข้าราชการในกระบวนการยุติธรรมมาขอความเห็นจากอาจารย์ครับ

    1.  ศาลจะตัดสินคดีอย่างไรก็ได้โดยไม่มีความผิดหรือครับ   เพราะชอบอ้างว่าเป็นการใช้ดุลยพินิจของศาล  มีกฏหมายไหนที่บอกว่าศาลตัดสินคดีอย่างไรก็ได้โดยไม่มีความผิด   ถ้าเป็นเช่นนั้นศาลก็จะแกล้งใครก็ได้ใช่ไหมโดยที่ไม่ผิด  ทั้งๆที่หลักฐานชัดเจนว่ามีความผิด

    2.  อัยการกับตำรวจ  มักอ้างว่าตนจะสั่งคดีฟ้องหรือไม่ก็ได้  เป็นดุลยพินิจ  เอาผิดตนไม่ได้  หากเป็นเช่นนั้นถ้าคดีมีหลักฐานชัดว่าผู้ต้องหาทำผิดแน่นหนา   อัยการและตำรวจสั่งไม่ฟ้องก็ไม่มีความผิดใช่ไหมครับ

     

    คำตอบ

          1. ศาลมีหน้าที่ในการพิจารณาและตัดสินคดีให้เป็นไปตามกฎมหมาย ในการนี้กฎหมายจึงให้อำนาจหลายประการรวมทั้งการใช้ดุลพินิจ  โดยหน้าที่ของศาลจึงไม่ใช่ "ตัดสินอย่างไรก็ได้" เพราะกฎหมายกำหนดขั้นตอนในการพิจารณาและพิพากษาไว้อย่างละเอียด เช่น กฎหมายกำหนดว่า เมื่อใครกู้ยืมเงินใครไปแล้วก็มีหน้าที่ต้องใช้เงินคืนเขาพร้อมด้วยดอกเบี้ยตามที่ตกลงกัน (เท่าที่ไม่เกินกฎหมาย)  เมื่อทางพิจารณาได้ความว่า มีการกู้เงินกันจริง ผู้กุ้ได้รับเงินไปแล้ว และยังไม่ได้ชำระ และหนี้นั้นถึงกำหนดชำระแล้ว ศาลจะตัดสินตามความสงสารว่า ผู้กู้ยากจนจึงไม่ต้องชำระหนี้น่ะไม่ได้ ไม่ว่าจะสงสารอย่างไร ก็ต้องตัดสินให้ชำระหนี้พร้อมด้วยดอกเบี้ยตามที่โจทก์ฟ้อง เป็นต้น   ส่วนที่เข้าใจกันว่า มีหลักฐานชัดเจน แล้วศาลยังตัดสินไปอีกอย่างหนึ่งน่ะ ส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องที่เข้าใจหรือรู้สึกเอาเองว่ามีหลักฐานชัดเจน  ศาลท่านมิได้ตัดสินตามความเข้าใจหรือตามความรู้สึกของใคร แต่ท่านตัดสินไปตามพยานหลักฐานที่ปรากฏอยู่ในสำนวน

         2. ทั้งอัยการและตำรวจ ต่างก็มีกลไกของกฎหมายที่เป็นกรอบในการทำงาน มีการตรวจสอบระหว่างกัน ไม่ใช่ใครนึกอยากทำอะไรก็ทำได้  แต่แน่ละในท่ามกลางคนหมู่มาก ก็อาจจะมีคนไม่ดีปะปนอยู่บ้าง บางคนก็อาจไม่สุจริต แต่ถ้ามีหลักฐานแห่งความไม่สุจริต ก็จะถูกลงโทษในภายหลังได้

          ไปแพ้คดีอะไรมาล่ะ

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    19 ธันวาคม 2548