ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    015314 เรื่อง การชันสูตรผลิกศพหมอใต้ผู้ร่วมชะตากรรม4 พฤศจิกายน 2548

    คำถาม
    เรื่อง การชันสูตรผลิกศพ

    กราบเรียนอาจารย์มีชัยที่เคารพนับถืออย่างสูง

       สวัสดีครับอาจารย์ ขอบคุณอาจารย์มากที่ห่วงใย ผมคงต้องมีคำถามส่งถามอาจารย์เป็นระยะๆ

    ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย.. ผมอยู่โรงพยาบาลชุมชนมา 19 ปีแล้ว ทุกครั้งเมื่อได้รับประสานจาก

    ตำรวจไห้ไปร่วมชันสูตรผลิกศพนอกโรงพยาบาล ผมและแพทย์คนอื่นๆก็ออกร่วมกับตำรวจทุก

    ครั้งทั้งในเมืองในป่าก็ไป ยกเว็นเวลากลางคืนหรือเหลือแพทย์คนเดียว อยู่เวรดูแลผู้ป่วยใน ก็

    ได้ประสานตำรวจไห้นำศพมาชันสูตรที่โรงพยาบาลแทน เหตุผล อันที่หนึ่งกลัว อันที่สองจะไม่

    ทิ้งคนเป็นเพื่อไปดูคนตาย  ยังไงก็คนตายที่ถูกยิงตาย นำศพมาต่ำแหน่งบาดแผลคงไม่ย้ายไปใหน

    ก็ปฎิบัติเช่นนี้มาตลอด ไปเป็นพยานศาลก็ไม่มีปัญหาอะไร ส่วนใหญ่จะออกความเห็นสาเหตุการ

    ตาย เช่น เสียเลือดมาก  อวัยวะภายในถูกทำลาย หรือสมองถูกทำลายเป็นต้น

        ในช่วงเหตุการณ์ไม่สงบเกือบ 2 ปีมานี้ พวกหมอ 3 จังหวัดก็มีปัญหาในเรื่องนี้เพราะ อันที่หนึ่งกลัว อันที่สองหมอขาดแคลนมาก ผู้ป่วยในโรงพยาบาลยังดูแทบไม่ทัน....กระทรวงสาธารณสุข

    ได้มีหนังสือฉบับหนึ่งว่า แพทย์ 3 จังหวัดไม่ต้องออกชันสูตรผลิกศพนอกเขตโรงพยาบาล ไห้เจ้า

    หน้าที่หรือญาตินำศพมาชันสูตรที่โรงพยาบาลแทน พวกหมอทุกคนดีใจมาก เป็นขวัญกำใจอย่าง

    หนึ่ง.....เรื่องมีอยู่ว่า เช้าวันหนึ่งประมาณ ต้นปี มีนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลหนึ่งถูกยิงเสียชีวิต

    ญาติไม่ยอมไห้ตำรวจนำศพมาโรงพยาบาล  ตำรวจโทรมาแจ้งที่โรงพยาบาล เป็นเวรน้องแพทย์

    ใช้ทุน (เป็นแพทย์หญิงทั้ง 3 คน)ตำรวจขอไห้ไปที่เกิดเหตุ น้องมารายงาน ผมทราบ ผมคุยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ขอร้องไห้หมอไป ผมจึงไปเอง รีบไปชันสูตรผลิกศพ พร้อมคนขับรถแล้วรีบกลับ

    โรงพยาบาล..ก็ไม่มีปัญหาอะไร..ต่อมาเมือวันที่ 26 ตุลาคมที่ผ่านมาอาทิตย์ที่แล้ว บังเอิญผมไปประชุมที่จังหวัด....น้องหมอที่โรงพยาบาลโทรมาแจ้งว่ามีเหตูยิงกันตาย ตำรวจประสานมาว่าญาติไม่ยอมไห้นำศพมาชันสูตรที่โรงพยาบาล( อาจเป็นเพราะว่า บ่ายแล้ว มุสลิมต้องทำพิธีฝังศพก่อนตะวันตกดิน)  ผมไม่รู้จะตัดสินใจอย่างไร เพราะน้องหมอไม่กล้าออกไปและผมไม่อนุญาติไห้ออกอยู่แล้ว ถ้าผมจะกลับก็ไม่ทัน ผมจึงบอกว่า ไห้บอกตำรวจช่วยถ่ายรูปศพคนตายมาแล้วค่อยออกใบชันสูตรผลิกศพที่โรงพยาบาลก็แล้วกัน>>> คำถามมีอยู่ว่า

      (1) การตัดสินของผมไม่ชอบโดยกฎหมายหรือไม่

      (2) หากกรณีนี้ต้องไปเป็นพยานศาล จะทำอย่างไร

      (3) ความเห็นและทางออกของอาจารย์ในกรณีนี้ ควรปฎิบัติอย่างไรดี

          สุดท้ายนี้ผมขอบคุณอาจารย์อีกครั้ง... และดีใจมากที่มี web site นี้ทำไห้ผมอุ่นใจเหมือนมี

    ที่ปรึกษาทางกฏหมาย  และถ้ามีข้อคิดเห็นหรือข้อข้องใจทางกฎหมายผมจะเขียนมาอีก

                                                 ด้วยความเคารพนับถืออย่างสูง

                                                  หมอใต้ผู้ร่วมชะตากรรม

    คำตอบ

    เรียน หมอใต้ผู้ร่วมชะตากรรม

          1. ไม่น่าจะชอบนัก

          2. อย่าว่าแต่ไปศาลเลย ตอนออกใบชันสูตรซึ่งต้องรวมไว้ในสำนวน หมอจะเขียนอย่างไรล่ะ

          3. ถ้าว่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๔๙ และมาตรา ๑๕๐ การชันสูตรเห็นจะต้องไปกระทำ ณ สถานที่ที่มีการตายเกิดขึ้น เพราะกฎหมายห้ามบรรดาญาติเคลื่อนย้ายก่อนที่จะมีการชันสูตรพลิกศพ  การที่กระทรวงสาธารณสุขออกหนังสือเวียนไม่ให้หมอต้องไปชันสูตรพลิกศพนอกสถานที่นั้น แม้จะเป็นการกระทำด้วยความหวังดีต่อแพทย์ในสังกัด แต่กระทรวงสาธารณสุขก็ไม่มีอำนาจที่จะทำเช่นนั้นได้  อย่างมากที่จะใช้ประโยชน์ได้ก็เพียงเป็นเครื่องคุ้มกันแพทย์ไม่ให้ต้องถูกดำเนินคดีในภายหลังฐานปฏิบัติไม่ชอบด้วยหน้าที่  แต่ทางออกก็มีอยู่ คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ควรจะอาศัยอำนาจตามมาตรา ๕ ของพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาวางระเบียบเกี่ยวกับการชันสูตรพลิกศพในสถานการณ์ที่ไม่ปกติไว้  เพื่อเป็นการผ่อนปรนให้แพทย์ไม่ต้องเดินทางไปเสี่ยงอันตราย  อย่างไรก็ตามปัญหาก็ใช่ว่าจะหมดเสียทีเดียว เพราะกฎหมายบังคับให้ต้องมีการชันสูตรพลิกศพในกรณีมีความตายผิดธรรมชาติขึ้น แต่ถ้าญาติของผู้ตายไม่ยอมให้นำศพมาโรงพยาบาลจะทำอย่างไร  ในยามปกตินั้นเจ้าหน้าที่ของรัฐก็สามารถบังคับได้ แต่กับสถานการณ์ที่เปราะบางอย่างภาคใต้ จะใช้อำนาจบังคับเช่นนั้นก็คงจะเกิดเรื่องลุกลามใหญ่โตได้่ การจะแก้ไขปัญหาเรื่องนี้จึงอาจจำเป็นต้องแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อเปิดช่องทางให้ทำการชันสูตรโดยอาศัยรายงานจากเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในที่เกิดเหตุได้ หรือให้มีการชันสูตรโดยไม่ต้องใช้แพทย์ คงให้แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจและพนักงานฝ่ายปกครองซึ่งต้องไปในที่เกิดเหตุอยู่แล้วดำเนินการแทนแพทย์ได้

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    4 พฤศจิกายน 2548