ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    015134 ฟ้องแพ่งรถร่วม ข.ส.ม.ก.วิชาญ11 ตุลาคม 2548

    คำถาม
    ฟ้องแพ่งรถร่วม ข.ส.ม.ก.

    เรียน อาจารย์มีชัยที่เคารพ

    รถร่วมเอกชน ข.ส.ม.ก. ได้เฉี่ยวชนบิดาขณะข้ามทางม้าลายเป็นเหตุให้เสียชีวิต บริษัทรับประกันภัย บริษัทรถร่วมเอกชน และ ข.ส.ม.ก. ไม่ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้และแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงคิดว่าจะฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหายจากบริษัทรถร่วมเอกชน และ ข.ส.ม.ก. เพื่อต้องการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ปรับปรุงและควบคุมงานให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น จึงขอเรียนถามว่าสามารถใช้มูลเหตุการขาดความรับผิดชอบและประสิทธิภาพในการควบคุมและบริหารความปลอดภัยของนายจ้างและหน่วยงาน ข.ส.ม.ก.ในการฟ้องเรียกค่าเสียหายให้ได้สูงสุดได้หรือไม่ สามารถเรียกร้องค่าเสียหายอะไรได้บ้าง และมีวงเงินที่จำกัดหรือไม่

    ขอแสดงความนับถืออย่างสูง

    วิชาญ

     

    คำตอบ

    เรียน คุณวิชาญ

            ไม่ต้องอาศัยมูลเหตุอะไรอย่างที่ว่าหรอก  มูลเหตุที่สำคัญคือการทำให้คนตายก็เพียงพอแล้ว ส่วนค่าเสียหายนั้นจะเรียกเท่าไรก็ต้องคำนึงว่าจะสามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงความเสียหายได้เท่าไร เช่นถ้าพิสูจน์ได้ว่ามีความเสียหาย ๑๐๐ ล้านบาท ก็เรียกได้ทั้งร้อยล้าน แต่ถ้าเรียกไปร้อยล้านแล้วพิสูจน์ถึงความเสียหายได้เพียง สองแสน ศาลก็คงให้เพียงสองแสน

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    11 ตุลาคม 2548