ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    014997 เรื่องการฟ้องร้องค่ะมะลิ26 กันยายน 2548

    คำถาม
    เรื่องการฟ้องร้องค่ะ

    เรียน ท่านมีชัยค่ะ

                เนื่องจากดิฉันมีปัญหาอยากจะรบกวนถามดังนี้ค่ะ มีลูกหนี้มากู้เงินไปแล้วขาดส่งมานานหลายปีแล้วค่ะ ไม่ทราบว่าอายุความได้กี่ปีคะ ... ซึ่งทางดิฉันกำลังจะฟ้องร้องค่ะ เพราะตกลงกันไม่ได้ เพราะเค้าไม่ยอมมาตกลงด้วย ปล่อยให้เวลาล่วงเลยมานานหลายปีมาก  โดยประมาณ 8 ปีค่ะดิฉันกลัวจะหมดอายุความสะก่อน  อยากทราบว่า ถ้าฟ้องร้องแล้วหลักทรัพย์ที่จำนองเอาไว้ถ้าไม่พอกับจำนวนเงินที่กู้เงินไปเราสามารถเรียกไปถึงสมบัติของสามีเค้าได้มั้ยคะ ไม่ทราบว่าได้เฉพาะสมบัติที่หามาได้ในช่วงที่เค้าแต่งงานกัน หรือว่าสมบัติเก่าของสามีเค้าตั้งแต่ยังไม่ได้แต่งงานกันคะ                                                                    

                                                        ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ ที่กรุณาอ่านและตอบคำถามให้ค่ะ

                                                                     มะลิ

    คำตอบ

         ถ้าเป็นเรื่องของการจำนอง ตราบใดที่เขายังไม่ไถ่จำนอง การจำนองนั้นก็ยังคงใช้บังคับได้  แต่ก็ไม่ควรทิ้งไว้นานนัก เวลาฟ้องร้องจะหาพยานหลักฐานลำบาก   เมื่อบังคับจำนองแล้ว ถ้าเงินที่ได้จากการขายทรัพย์จำนองไม่พอ ชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็สามารถยึดทรัพย์สินอื่นไปขายทอดตลาดจนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนได้

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    26 กันยายน 2548