ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    014947 กินหมูกะทะไม่หมด ถูกทางร้านปรับพ.ต.ต.ปัญญาฯ20 กันยายน 2548

    คำถาม
    กินหมูกะทะไม่หมด ถูกทางร้านปรับ

    กราบเรียนท่านอาจารย์ที่เคารพ

                กรณีร้านหมูกะทะที่จะเก็บเงินลุกค้าที่ไปนั่งกิน 65 บาท /คน    ซึ่งหากลูกค้าที่ตักอาหารมาแล้วกินหมด ทางร้านจะคิด 65 บาทเท่าที่ขึ้นป้ายบอกไว้ อิ่มละ 65 บาท (ไม่รวมค่านำดื่มและบริการอื่น)    แต่หากลูกค้าคนใดตักมามากจนกินไม่หมด ทางร้านจะปรับ 60 บาท โดยทางร้านจะมีป้ายติดบอกไว้ว่า" กินไม่หมดโดนปรับแน่" ขอเรียนถามอาจารย์ดังนี้

                     1.หากผู้บริโภคทานไม่หมด ถูกทางร้านปรับเงิน ทางร้านสามารถทำได้หรือไม่ มีกฏหมายอะไรรองรับการกระทำของร้านดังกล่าว

                     2. หากผู้บริโภคไม่ยอมจ่ายเงินตามที่ทางร้านปรับ จะผิดกฏหมายใดๆหรือไม่

            ขอความกรุณาอาจารย์บรรยายให้ละเอียดด้วยครับ ว่ากรณีเป็นมูลทางแพ่ง อาญา เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมอย่างไรหรือไม่ มีกรณีตัวอย่างหรือมีคำพิพากษาฏีกาที่เกี่ยวข้องหรือไม่ อย่างไร  เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคหรือไม่ อย่างไร   ขอบคุณครับ

     

     

    คำตอบ

    เรียน พ.ต.ต. ปัญญา

               1. การที่ทางร้านปิดป้ายไว้แล้วว่าถ้ากินไม่หมดจะต้องถูกปรับในอัตราอย่างไร ย่อมถือเป็นเงื่อนไขในการขายแบบเหมากิน ถ้าป้ายที่ปิดไว้นั้นได้ปิดในที่เปิดเผยที่จะสามารถเห็นได้ทั่วไป ก็น่าจะใช้ได้ การที่ผู้บริโภคเข้าไปกินก็ต้องถือว่ารับในเงื่อนไขนั้น เมื่อกินไม่หมด ทางร้านก็ย่อมปรับเอาตามเงื่อนไขได้ ซึ่งเป็นการปรับในทางแพ่งไม่ใช่ทางอาญา เหมือนกับเป็นการทำผิดสัญญานั่นเอง

              2. ถ้าผู้บริโภคไม่ยอมจ่าย ทางร้านก็สามารถฟ้องร้องเอาได้ในทางแพ่ง   อย่างนี้ไม่ถือว่าเป็ฯการเอาเปรียบผู้บริโภค ๆ ต่างหากที่เอาเปรียบเจ้าของร้าน และเป็นการทิ้งขว้างของโดยไม่จำเป็นด้วย


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    20 กันยายน 2548