ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    014857 มาตรการบังคับ เช่นการปิดปั๊ม 4 ทุ่ม เป็นกฏหมายหรือไม่ เรามีสิทธิปฏิเสธหรือไม่ประกอบ10 กันยายน 2548

    คำถาม
    มาตรการบังคับ เช่นการปิดปั๊ม 4 ทุ่ม เป็นกฏหมายหรือไม่ เรามีสิทธิปฏิเสธหรือไม่
    เรียนถามท่านอาจารย์ดังนี้นะครับ  คือบางมาตรการของรัฐเนี่ยผมสงสัยว่าเป็นข้อบังคับทางกฏหมายรึเปล่า  รัฐใช้สิทธิอะไรมาบังคับ เช่น
    1  การปิดปั๊มน้ำมันตอน 4 ทุ่ม   ถ้าผมเป็นเจ้าของปั๊ม ผมมีสิทธิที่จะไม่ปิด  หรืออ้างว่าคำสั่งปิดเนี่ย ขัดรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ครับ
    2  เกิดรัฐบอกว่าห้ามรถส่วนตัวที่ขับคนเดียว วิ่งผ่านใจกลางเมือง เกิดมีการรณรงค์กัน  ถ้าผมไม่ยอมรับ จะละเมิดหรือฝ่าฝืนได้หรือไม่ครับ  คำสั่งพวกนี้ ถ้าต่อไปรัฐจะนำมาใช้  มันเป็นกฏหมายรึเปล่า  แล้วถ้าผมไม่เห็นด้วยกับกฏหมายพวกนี้ ผมจะต้องอุทรณ์กับใครครับ  สามารถทำได้ด้วยตัวเองหรือเปล่า
     
    ที่ถามเพราะบ้านผมอยู่บางกะปิ ต้องไปทำงานนครปฐม  ไม่สามารถพึ่งบริการขนส่งมวลชนของรัฐได้  
    คำตอบ

    เรียน คุณประกอบ

           1. การกำหนดมาตรการเพื่อประหยัดพลังงานนั้น มีกฎหมายให้อำนาจรัฐในการออกมาตรการต่าง ๆ โดยเฉพาะการกำหนดเวลาปิดเปิดปั๊มได้

           2.  มาตรการที่คุณว่าเป็นเรื่องของการขอความร่วมมือ ไม่ใช่กฎหมาย ถ้าคุณไม่ให้ความร่วมมือก็ไม่มีใครว่าอะไร ถ้ามีใครจับคุณเข้าคุณก็สามารถสู้คดีได้

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    10 กันยายน 2548