ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    014669 การออกพระราชกำหนดนิติธรรม9 สิงหาคม 2548

    คำถาม
    การออกพระราชกำหนด

    เรียน ท่านอาจารย์ที่เคารพ

            ปัจจุบันได้รับทราบว่ามีการออกพระราชกำหนดหรือกฤษฎีกา(ไม่แน่ใจครับ) โดยยกเลิกกฏหมาย(พระราชบัญญัติ) ค่อนข้างบ่อย ในทางหลักการนิติศาสตร์ทำได้หรือครับ ลักษณะอย่างนี้ในนานาประเทศเขาทำกันบ้างหรือเปล่าครับ

                                                         ขอบพระคุณครับ

                                                                 นิติธรรม

    คำตอบ

    เรียน นิติธรรม

          อันพระราชกำหนดนั้น คือกฎหมายที่รัฐธรรมนูญยอมให้ฝ่ายบริหารออกได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ และเมื่อออกแล้วต้องนำไปให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบ เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้วก็ใช้บังคับได้ดังเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติ  ดังนั้นการออกพระราชกำหนดมีผลเป็นการยกเลิกหรือแก้ไขพระราชบัญญัติจึงเป็นของที่ทำได้ตามรัฐธรรมนูญ นานาประเทศเขาก็ทำเหมือนกัน เพียงแต่เงื่อนไขในการออก อาจจะหนักเบาแตกต่างกัน

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    9 สิงหาคม 2548